
TRENDS
แนวโน้มธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ ปี 2568
ธุรกิจขนาดเล็กถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้สร้างส่วนสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสร้างงานใหม่เป็นจำนวนมาก ในปี 2568 นี้ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากการปรับเปลี่ยนและการพัฒนาพฤติกรรมของผู้บริโภค ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ ๆ โดยเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า หากสามารถอดทน ปรับตัว และตื่นตัวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ได้
บริษัทอาหารอนาคตไทยบุกตลาดสหรัฐฯ ที่งาน Taste of Thai at Tysons
สมาคมร้านอาหารไทยแห่งสหรัฐอเมริกา (Thai Restaurant Association of America – TRAA) ได้จัดงาน Taste of Thai at Tysons ที่ Tysons Corner Plaza เมือง Tysons รัฐเวอร์จิเนีย เพื่อประชาสัมพันธ์อาหารและซอฟพาวเวอร์ของไทย ร่วมกับชุมชนไทยและหน่วยงานทีมประเทศไทยในกรุงวอชิงตัน นอกจากนี้ มีผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารอนาคต (future food) จากไทยจำนวน 5 ราย ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ผ่านโครงการ Thainess Future Food in the U.S. ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้ได้นำผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองมาร่วมแสดงออกบูทในงานด้วยเช่นกัน
ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในสหรัฐฯ ปี 2567
Supply chain หรือห่วงโซ่อุปทานถือเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจทุกประเภท รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญในด้าน supply chain โดยในช่วงมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ออกคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Order) ด้าน supply chain resilience ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งและเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานในระยะยาว โดยเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (critical infrastructure) อย่างไรก็ดี ปี 2567 ยังคงเป็นปีที่ท้าทายสำหรับห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากความไม่แน่นอนทั้งจากสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง disruption ต่าง ๆ ยังคงดำเนินต่อไป
กระแสนิยม “ความยั่งยืน” ในอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ
ปัจจบันนี้ โลกธุรกิจตระหนักถึงผลกระทบจาก climate change มากขึ้น ทำให้องค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมต่างมีเป้าหมายด้านความยั่งยืนมากขึ้น รวมไปถึงแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ถูกนำมาใช้ในธุรกิจต่างๆ มากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน จนต่อมา แนวปฏิบัติที่ยั่งยืนได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญของวัฒนธรรมบริษัทหลายๆ แห่ง แม้แต่องค์กรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ green practice โดยตรง ก็ยังนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนนี้มาใช้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จในระยะยาวและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนขององค์กร