คลัสเตอร์และซูปเปอร์คลัสเตอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมดึงนักลงทุนสหรัฐฯ
พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไทยยังเข้มแข็ง ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และมั่นคงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซาทำให้ไทยยังเป็นศูนย์กลางการค้าและ เศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน พบหารือกับตัวแทนของบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ 21 แห่ง จัดโดยบริษัทบูซ อาเลน แฮมิลตัน และดำเนินการโดยท่านทูตสจ๊วต ฮอลลิเดย์ ประธานและซีอีโอ เมอร์ริเดียน อินเตอร์เนชั่นแนล เซ็นเตอร์ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี บริษัทผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ บริษัท 3 M บริษัทออลไบรท์ สโตนบริท บริษัทอันกาไรย์ บริษัทบราวน์ ฟอร์แมน บริษัทเชฟรอน บริษัทคอมแคส บริษัทดีซีไอ บริษัทกูเกิล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทนอร์ทเทิร์น ทรัสต์ บริษัทวีซ่า และสภาธุรกิจสหรัฐฯ – อาเซียน
ในระหว่างการประชุมท่านทูตพิศาล ได้กล่าวถึงโรดแมพสู่การเลือกตั้งและการออกกฎหมายที่สำคัญหลายฉบับในรัฐบาล ปัจจุบันเพื่อให้รองรับกับมาตรฐานสากล เช่น กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ กฎหมายต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป็นต้น รวมทั้งอยู่ระหว่างการปฏิรูปต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้แข็ง แกร่งอย่างยั่งยืนในเวทีต่างประเทศ เช่น การผ่านร่างกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์และเศรษฐกิจดิจิตอล 7 ฉบับโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อไม่นานมานี้
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและปราบปรามปัญหาคอร์รัปชั่นอย่าง จริงจัง โดยได้จัดตั้งมาตรการสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency หรือ CoST) วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความโป่งใสโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดย ภาครัฐซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังได้ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจในประเทศ ซึ่งรายงานธนาคารโลกเปิดเผยว่านโยบายดังกล่าวมีผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ น่าลงทุนสูงขึ้นเป็นอันดับที่ 26
ประเทศไทยได้เปรียบที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมและเปิดรับนักลงทุน นโยบายเศรษฐกิจใหม่ได้ถูกออกแบบเพื่อส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในอนาคต “คลัสเตอร์” ในสาขาอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเชี่ยวชาญและมีจุดแข็ง (ด้านเกษตรกรรม อิเล็คทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ การท่องเที่ยว) “ซูปเปอร์คลัสเตอร์” ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ (หุ่นยนต์ การบิน ดิจิตอล อุตสาหกรรมชีวภาพ การแพทย์และการบริการด้านการรักษาสุขภาพ) คลัสเตอร์และซูปเปอร์คลัสเตอร์จะเปลี่ยนรูปโฉมโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยจากการ เน้นใช้แรงงานราคาถูกเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี นักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีและแรงจูงใจ เป็นพิเศษสำหรับการลงทุน
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยมีประมาณ 157 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่หนี้สินต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะต่ออัตราจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 43 อัตราเงินเฟ้อต่ำและอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโออีซีดี ด้วยนโยบายของรัฐบาลไทยในปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยจึงถือว่ามีการฟื้นตัวรวด เร็วและเติบโตอย่างคงที่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น เห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้สูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ที่ร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ประการว่าเศรษฐกิจของไทยจะเจริญเติบโตร้อยละ 3.5 – 4 ในปีหน้า
ที่มา: “Clusters” and “Super Clusters”, high potential industries to invest in Thailand โดย พนาลี ชูศรี
แปลโดย: ชญาดา พลพันธุ์