ข้อตกลงเรื่องสินค้าอินทรีย์ระหว่างประเทศช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าอินทรีย์

ข้อตก ลงการค้าเรื่องการเทียบเท่า (equivalency agreements) เปิดโอกาสให้สินค้าอินทรีย์ที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากประเทศที่เป็ นสมาชิกข้อตกลงสามารถติดฉลากสินค้าอินทรีย์และวางขายเป็นสินค้าอินทรีย์ใน ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องถูกตรวจสอบเพิ่มเติม
Organic Trade Association รายงานว่า ข้อตกลงการค้าเรื่องการเทียบเท่า (equivalency agreements) ส่งผลให้ในระหว่างปี 2011 และ 2014 การส่งออกสินค้าอินทรีย์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 และในระหว่างปี 2013 และ 2014 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 200
สัดส่วนร้อยละที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่ม ขึ้นจากการส่งออกหรือการนำเข้าในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงทางการค้าดังกล่าว การส่งออกอาจมีการขยายตัวถ้าชาวไร่อินทรีย์อเมริกันจะเพิ่มการปลูกพืช อินทรีย์
ปัจจุบันภาคการทำไร่นาอินทรีย์ของสหรัฐฯ ไม่ได้ขยายตัวมากพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการสินค้าอินทรีย์ในตลาดนอก ประเทศหรือนอกการบริโภคภายในประเทศ
สินค้าอินทรีย์ส่งออกที่สำคัญของสหรัฐฯ คือ แอปเปิ้ล ผักกาดหอม องุ่น ผักโขม และสตอร์เบอรี่ ขณะที่ในแต่ละปีสหรัฐฯ นำเข้ากาแฟอินทรีย์ในมูลค่ามากกว่า 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังนำเข้าถั่วเหลืองอินทรีย์ น้ำมันมะกอกอินทรีย์และไวน์อินทรีย์ด้วย
ปัจจุบันการกำหนดรหัสศุลกากรสหรัฐฯ สินค้าอินทรีย์ยังคงมีจำนวนไม่มากนัก รหัสสำหรับสินค้าอินทรีย์ส่งออกมีอยู่ 34 รหัสและรหัสสำหรับสินค้าอินทรีย์นำเข้ามีอยู่ 40 รหัส หากสหรัฐฯ มีการกำหนดรหัสศุลกากรสำหรับสินค้าอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นอาจจะทำให้การค้าสินค้าอินทรีย์ระหว่างประเทศชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่มา: Agri-Pulse Communications Inc.: “Equivalency Agreements boost organic exports, says OTA”, by Whitney Forman-Cook, December 16, 2015
ขอบคุณข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
ผู้จัดทำ นางนวลรัชนี เสถียรมาศ
ผู้ตรวจ นางจิรภาพรรณ มลิทอง