รายงานสถานะล่าสุดการเจรจาความตกลง TPP (4)
๑. ผู้นำเสียงข้างมาก สว. Mitch McConnell (R-KY) ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า การลงคะแนนเพื่อผ่านร่าง คตล. TPP จะทำได้เร็วที่สุดในช่วงหลังการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ค.ศ. ๒๐๑๖ เท่านั้น เช่นเดียวกับ สว. Orrin Hatch (R-UT) ที่แสดงความกังวลเรื่องข้อกำหนดภายใต้ คตล. ที่ยังไม่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ด้านสิทธิบัตรยา ในขณะที่ประธานสภาฯ สส. Paul Ryan (R-WI) ได้กล่าวว่า ต้องการลงคะแนนโดยเร็วที่สุด หากคตล.ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อสหรัฐฯ ตามที่รัฐบาลได้กล่าวไว้
๒. ในส่วนของกลุ่มทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งประกอบไปด้วย Chamber of Commerce, Business Roundtable และ National Association of Manufacturers ยังไม่มีการแสดงท่าทีสนับสนุนการเข้าร่วม คตล. อย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังต้องศึกษาผลดีและผลเสียของข้อกำหนดใน คตล. ดังกล่าวที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยละเอียด
๓. ล่าสุดมีกลุ่มที่สนับสนุนการเข้าร่วม คตล. TPP ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแปรรูป เนื้อสัตว์ ผู้ผลิตขนาดใหญ่ กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี ผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ และโรงถ่ายภาพยนตร์ Hollywood ในขณะที่มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ต่อต้านการเข้าร่วม คตล. ดังกล่าว ได้แก่ บริษัทยาสูบ ผู้ผลิตยา และผู้ผลิตยานยนต์ในมลรัฐ Detroit ซึ่งแสดงท่าทีกังวลว่า การเข้าร่วม คตล. ดังกล่าวจะเป็นการเอื้อประโยชน์โดยตรงให้แก่บริษัท Toyota Motor Corp. และผู้ผลิตยานยนต์รายอื่นๆ ของ ญป.
๔. สมาคมไวน์แห่งมลรัฐ California (Wine Institute) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ผลิตไวน์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องประมาณ ๑,๐๐๐ ราย และกลุ่มผู้ผลิตสุราและไวน์ในสหรัฐฯ (The Distilled Spirits Council – DISCUS) ได้ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วม คตล. TPP โดย นาง Christine LoCascio ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายการค้าระหว่างประเทศของ DISCUS ได้ให้ความเห็นว่า การเข้าร่วม คตล. TPP จะทำให้ผู้ส่งออกของสหรัฐฯ สามารถแข่งขันในตลาดประเทศสมาชิกได้อย่างสมบูรณ์ และยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมสุราและไวน์ของสหรัฐฯ ให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
๕. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าประเภทสุราและไวน์ภายใต้ คตล. TPP ที่จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตชาวสหรัฐฯ อาทิ การควบคุมฉลากข้อกำหนดเกี่ยวกับหนังสือรับรอง และบทควบคุมเครื่องดื่มประเภท bourbon และ Tennessee whiskey ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งประเภทสุราของสหรัฐฯ เป็นต้น
๖. เอกสารสรุปข้อมูลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ จาก คตล. TPP ในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง สาธารณสุข ICT เครื่องจักรกล สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุการขนส่ง
จัดทำโดย International Trade Administration, U.S. Department of Commerce (http://trade.gov/fta/tpp/index.asp)
ขอบคุณข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน