ชาวสหรัฐฯ เปิดดูโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากกว่า 8,000 ล้านครั้งต่อวัน
ผล สำรวจจาก Deloitte กล่าวว่า ชาวสหรัฐฯ หมกมุ่นกับการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนร่วมกับการทำภาระกิจอื่น ๆ โดยชาวสหรัฐฯ หยิบโทรศัพท์สมาร์ทโฟนขึ้นมาเล่นมากกว่า 8,000 ล้านครั้งต่อวัน เฉลี่ยคนละ 46 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นการเล่นควบคู่ไปกับการดูทีวี เดินช้อปปิ้ง และพูดคุยสนทนากับคนในครอบครัว
รายงานจาก 2015 Global Mobile Consumer Survey พบสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรม แนวโน้ม และไลฟ์สไตล์ในการใช้โทรศัพท์ของชาวสหรัฐฯ สรุปได้ ดังนี้
ชาวสหรัฐฯ ไม่มีสมาธิเหมือนสมัยก่อน
ผลสำรวจพบว่าชาวสหรัฐฯ เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนพร้อมกับการทำสิ่งอื่น ๆ ควบคู่ไปในเวลาเดียวกันอยู่ ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าชาวสหรัฐฯ ไม่มีสมาธิเหมือนแต่ก่อน
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 61 ใช้สมาร์ทโฟนในเวลาช้อปปิ้ง
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 47 ใช้สมาร์ทโฟนไปพร้อมกับการพูดคุยสนทนากับเพื่อนและครอบครัว
- ชาวสหรัฐฯ มากว่าหนึ่งในสาม ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนถึงแม้ว่าจะไม่มีสายหรือข้อความเรียกเข้า
- ตามความเป็นจริงแล้วผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 – 24 ปี จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนไปพร้อมกับการดูทีวีสูงกว่ากลุ่มอื่น แต่ผลสำรวจพบว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 25 – 34 ปี มีการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนไปพร้อมกับการดูทีวีในระดับที่สูงที่สุด
- การรับ – ส่งข้อความ (Text Message) ได้รับความนิยมมากกว่าการรับ – ส่งอีเมลอยู่ที่ร้อยละ 31 และ ร้อยละ 24 ตามลำดับ
นอกจากนี้ คาดว่าในอนาคตแนวโน้มการใช้อีเมลจะลดน้อยลง ชาวสหรัฐฯ ไม่มีทีท่าจะหยุดการเล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ปัจจุบันชาวสหรัฐฯ ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงระยะเวลาในการเล่น และจำนวนครั้งในการเล่นในแต่ละวัน
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 17 เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทันที่เมื่อลุกขึ้นเดินและร้อยละ 43 เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนภายใน 5 นาที หลังจากลุกขึ้นเดิน
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 13 เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทันทีก่อนเข้านอนและร้อยละ 33 เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 5 นาทีก่อนเวลาเข้านอน
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 4 เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากกว่า 200 ครั้งต่อวัน
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 48 เล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากกว่า 25 ครั้งต่อวัน
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 97 ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนถ่ายรูปอย่างน้อย 1 รูป โดยร้อยละ 74 ได้ทำการโพส ในเว็บโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้ที่ทำการถ่ายรูปและโพสมากที่สุดคือเด็กผู้หญิงอายุประมาณ 18 – 24 ปี
การชำระเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนกำลังเป็นที่นิยม
การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในการชำระเงินใน ร้านค้าได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า อยู่ที่ร้อยละ 18 เที่ยบกับปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 5 สิ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มคนมิลเลนเนียล
- ผู้ที่มีอายุระหว่าง 25 – 34 ปีเป็นผู้นำและกำลังขับเคลื่อนการใช้ระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในร้านค้าอยู่ที่ร้อยละ 36
- สถานที่ที่ได้รับความนิยมในการใช้ระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ได้แก่ ที่จอดรถ (ร้อยละ 19) สถานให้บริการน้ำมัน (ร้อยละ 18) ร้านกาแฟ (ร้อยละ 17) และร้านอาหาร (ร้อยละ 17)
- ในขณะที่การชำระเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนกำลังเป็นที่นิยม แต่ก็มีชาวสหรัฐฯ บางกลุ่มที่คิดว่า การชำระเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นการชำระเงินที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย เท่าที่ควร โดยร้อยละ 36 ไม่เห็นข้อดีของการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
Mr. Craig Wigginton รองประธาน กรรมการและผู้นำภาคการสื่อสารโทรคมนาคม หน่วยงาน Deloitte & Touche LLP. กล่าวว่า การ ให้ความรู้กับชาวสหรัฐฯ ถึงข้อดีและความปลอดภัยของการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน จะสามารถช่วยเปิดโอกาสให้เทคโนโลยีเติบโตได้มากขึ้น
การเชื่อมต่อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเข้ากับอุปกรณ์เพื่อสุขภาพทำให้สุขภาพของชาวสหรัฐฯ ดีขึ้น
ปัจจุบันชาวสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลการออกกำลังกายในแต่ละวัน โดยการนำสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ (Fitness Bands) และนาฬิกาอัจฉริยะ (Smartwatches) มาสวมใส่เพื่อทราบข้อมูลการออกกำลังกายและนำไปปรับรูปแบบการออกกำลังกาย เพื่อทำให้สุขภาพดียิ่งขึ้น
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 10 มีสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ
- ชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 37 ใช้สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพเพื่อช่วยเรื่องการออกกำลังกาย และร้อยละ 27 ใช้เพื่อคำนวนจำนวนแคลอรีต่อวัน
- ถึงแม้ว่าชาวสหรัฐฯ จะครอบครองสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพมากกว่านาฬิกาอัจฉริยะ แต่ในปัจจุบันนาฬิกาอัจฉริยะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยร้อยละ 74 จะใช้นาฬิกาอัจฉริยะ และร้อยละ 66 ใช้สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพในการออกกำลังกาย
ที่มา: สำนักข่าว PR Newswire เรื่อง: “Deloitte Survey: American Look at Their Smartphones in the Aggregate More Than 8 Billion Times Daily”
จัดทำโดย: นายพีรภัทร ภัทรประสิทธิ์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558/ สคร. ไมอามี
ขอบคุณข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครไมอามี