คำแสดงบนฉลากอาหารอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากกฎหมายใหม่ถูกใช้บังคับ
สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคิดค้นพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีทาง วิทยาศาสตร์หรือที่รู้จักในนามการตัดต่อพันธุกรรม (Genetically Modified Organism หรือ GMO) พืช GMO ที่สหรัฐฯ อนุญาตให้จำหน่าย เช่น ข้าวโพด มันสัมปะหลัง ต้นคาโนลา มะเขือเทศ และล่าสุดสหรัฐฯ อนุญาตให้จำหน่ายปลาแซลมอนที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม
ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจนว่าสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์หรือตัดแต่งพันธุกรรม จึงมีการรณรงค์ให้บริษัทผลิตอาหารติดฉลากบ่งรายละเอียดหากสินค้ามีส่วนผสม ของวัตถุดิบที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม จากผลสำรวจของ National Poll แสดงว่า ชาวอเมริกัน ร้อยละ 89 ต้องการให้บริษัทผลิตอาหารติดฉลากที่มีส่วนผสมของอาหารที่ผ่านการตกแต่งทาง พันธุกรรม
ล่าสุดบริษัทแคมเบล ซุป (Campbell Soup) เปิดเผยถึงความต้องการที่จะติดฉลากบอกส่วนผสมของอาหารที่ผ่านการตกแต่งพันธุ กรรมบนผลิตภัณฑ์ของตน ทั้งยังสนับสนุนการผลักดันให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ออกกฎหมายว่าด้วยการติดฉลากสินค้าที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมโดยสมัครใจ บริษัทแคมเบล ซุป ได้ร่วมกับบริษัทอาหารชั้นนำอื่น ๆ รณรงค์ให้รัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐวอชิงตันบังคับการติดฉลากอาหารผ่านการตัด แต่งพันธุกรรม
นอกจากนี้ บริษัทแคมเบล ซุป ยังระบุด้วยว่า หากรัฐแต่ละรัฐต่างออกกฎหมายเรื่องการติดฉลากอาหารในรัฐของตนอย่างเป็น เอกเทศก็จะส่งผลเพิ่มภาระด้านค่าใช้จ่ายแก่บริษัทเป็นอย่างมาก แต่หากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะบูรณาการออกกฏหมายการติดฉลาก ภาระค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องรองรับก็จะไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ บริษัทจะมีเวลาในการเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงอย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม บริษัทอาหารหลักหลายแห่งให้ความสำคัญกับการแสดงฉลากอาหารที่ผ่านการตัดแต่ง พันธุกรรม เช่น โฮลฟู๊ด มาร์เก็ต (Whole Foods Market) ประกาศว่า สินค้าที่ขายภายในร้านจะต้องทำการติดฉลากระบุส่วนประกอบที่ผ่านการตัดแต่ง ทางพันธุกรรมภายในปี ค.ศ. 2018
นอกจากนี้ ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ เช่น โครเกอร์ (Kroger) และเซฟเวย์ (Safeway) ให้ความสำคัญกับการเลือกขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic products) และสนับสนุนให้บริษัทผลิตอาหารติดฉลากจีเอ็มโอบนอาหารที่ผ่านการตัดต่อพันธุ กรรม
ข้อแนะนำ
แม้ว่ารัฐบาลกลางสหรัฐฯยังไม่มีกฎหมาย บังคับแต่ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกอาหารควรเกาะสถานการณ์ความเคลื่อนไหวการ ติดฉลากจีเอ็มโอบนอาหารที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรมของสหรัฐฯ เพื่อการปรับตัวอย่างทันท่วงที โดยผู้ประกอบการควรศึกษากฎหมายในแต่ละรัฐว่าบังคับให้ผู้ประกอบการติดฉลาก ดังกล่าวหรือไม่
ทั้งนี้ จากแบบสำรวจพบว่าผู้บริโภคสหรัฐฯ และร้านค้ามีความต้องการให้แสดงฉลากที่ระบุถึงรายละเอียดอาหารอย่างชัดแจ้ง การเตรียมความพร้อมรับมือล่วงหน้าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปัญหาที่จะ ตามมา เช่น การตีกลับสินค้า เป็นต้น
ชญาดา พลพันธุ์
อ้างอิง
- Stephanie Storm, “A New Fact on the Food Label”, The New York Time, January 8th 2016, Page B1, B3
- Statesman Journal, December 1st 2015