กฎระเบียบที่เปลี่นข้อยุติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย Food Safety Modernization Act (FSMA)

กฎระเบียบที่เปลี่นข้อยุติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย Food Safety Modernization Act (FSMA)

กฎระเบียบที่เปลี่นข้อยุติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวของกับกฎหมาย Food Safety Modernization Act (FSMA)

ของ FDA ล่าสุดที่ประกาศในปี 2558 เรื่อง: Foreign Supplier Verification Programs (FSVP) for Importers of Food for Humans

and

Animals (โปรแกรมต่างๆที่เป็นการรับรองผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศสำหรับผู้นำเข้าสินค้าอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์)

ประกาศข้อ เสนอจัดทำ

ประกาศเป็นข้อยุติ

วันที่มีผล

บังคับใช้

เลขที่ตำแหน่ง ของเอกสาร (Docket No.)

ผู้ที่จะได้รับผลกระทบ โดยตรง

กฏระเบียบโดยสรุป

ก.ค.  201327 พ.ย. 2015อย่างเร็วที่สุดภายใน 18 เดือน ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ1. ผู้นำเข้าสหรัฐฯ

2. เจ้าของสินค้านำเข้าที่อยู่ในสหรัฐฯ หรือผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าอาหารนำเข้าสหรัฐฯ

3. ในกรณีที่ไม่มีการระบุผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ตัวแทนในสหรัฐฯ ของเจ้าของสินค้าที่เป็นผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ

4. โรงงานผลิตในต่างประเทศ

1. กฎระเบียบบังคับผู้นำเข้าที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงให้ต้องรับ รองว่าสินค้าอาหารที่ถูกนำเข้าไปยังสหรัฐฯ มีการผลิตในวิถีทางที่เป็นไปตามมาตรฐานของสหรัฐฯ ด้านความปลอดภัย

2. เป็นหน้าที่ของ FDA ที่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องการสร้างหลักประกันว่าผู้นำเข้าบรรลุถึงข้อกำหนด FSVP และ FDA จะจัดหาการแนะแนว การเข้าถึง และการฝึกอบรมให้แก่ผู้นำเข้า

3. ขอบเขตของกฎระเบียบ

3.1 ผู้นำเข้าภายใต้กฎระเบียบนี้จะต้องรับประกัน (verify) ว่า ผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศของตนกำลังผลิตสินค้าอาหารที่เป็นการคุ้มครอง สุขภาพสาธารณชนในระดับเดียวกันกับของสหรัฐฯ ที่เป็นเพื่อการควบคุม   ด้านการป้องกันหรือสร้างกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ปลอดภัยตามที่เหมาะสม และให้หลักประกันว่าอาหารของผู้จัดหาอุปทานไม่ได้เจือปนสกปรกและไม่มีการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้องในแง่ของการปิดฉลากระบุสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้

3.2 เป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าที่จะต้องดำเนินการต่าง ๆ รวมถึง

(1) ตัดสินถึงอันตรายของอาหารแต่ละอย่างตามที่เป็นที่รู้กันหรือที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างมีเหตุมีผล

(2) ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากอาหารนั้นบนพื้นฐานของการวิเคราะห์อันตราย และปฏิบัติการของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ

(3) ใช้การประเมินในข้อ 2 ที่อาหารนำเข้าและปฏิบัติการของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ แสดงออกให้เห็นถึงความ เสี่ยงในการนำมาปรับปรุงผู้จัดหาอุปทานและตัดสินกิจกรรมที่เป็นไปอย่างเหมาะ สมในการรับรองผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ

(4) จัดทำกิจกรรมการรับรองผู้จัดหาอุปทาน

(5) จัดทำการดำเนินการต่าง ๆ ด้านการแก้ไขให้ถูกต้อง

3.3 ผู้นำเข้าจะต้องจัดทำและปฏิบัติตามขบวนการปฏิบัติต่าง ๆ ที่กระทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักประกันว่า จะนำเข้าสินค้าเฉพาะจากผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ (approved) แล้วบนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยงอาหารนำเข้าและปฏิบัติการของผู้จัดหา อุปทานแสดงให้เห็นหรือเมื่อจำเป็นในระยะเวลาที่เป็นครั้งคราวไปจากผู้จัดหา อุปทานที่ไม่ได้รับการยอมรับ (approved) ซึ่งจะต้องเป็นอาหารที่ผ่านกิจกรรมการการรับรองอย่างเหมาะสมก่อนนำเข้าสห รัฐฯ

3.4 ผู้นำเข้าจะต้องทำการพัฒนา บำรุงรักษา และทำตาม FSVP สำหรับอาหารแต่ละรายการที่นำเข้ายังสหรัฐฯ และสำหรับผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศสำหรับสินค้าดังกล่าว ถ้าผู้นำเข้าได้รับอาหารจากผู้จัดหาอุปทานหลายคน จะต้องมี FSVP แยกกันสำหรับผู้จัดหาอุปทานแต่ละราย

3.5 ผู้นำเข้าที่เป็นโรงงานผลิต/ผู้ผลิตสินค้าด้วย จะถือว่าปฏิบัติตามข้อบังคับต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของ FSVP ถ้า

(1) ปฏิบัติตามข้อบังของโปรแกรมห่วงโซ่อุปทานภายใต้กฎระเบียบเรื่องการควบคุมด้านการป้องกัน

(2) จัดทำการควบคุมด้านการป้องกันอันตรายในอาหารตามข้อบังคับกฎระเบียบ เรื่องการควบคุมด่านการป้องกัน หรือ

(3) ไม่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำการควบคุมที่เป็นด้านการป้องกันภายใต้กฎระเบียบใน สถานการณ์ที่มีการระบุเจาะจงลงไป เช่น ประเภทของอาหาร (ต.ย เมล็ดกาแฟ) ไม่สามารถบริโภคได้โดยไม่มีการดำเนินการที่เป็นการควบคุมในลักษณะการป้องกัน หรือเมื่อลูกค้าจะทำการที่เป็นการลดอันตรายหรือทำการป้องกันอันตรายที่ ถูกระบุไว้แล้ว) และปฏิบัติตามข้อบังคับโดยที่      เปิดเผยและให้หลักประกันเป็นลายลักษณ์อักษร

3.6 การประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอาหารนำเข้าและปฏิบัติการของผู้จัดหาอุป ทานจะต้องได้รับการประเมินซ้ำอย่างน้อยทุก ๆ สามปีหรือเมื่อมี   ข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับอันตรายหรือปฏิบัติการของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ

4. การวิเคราะห์อันตราย

4.1 ผู้นำเข้าถูกกำหนดให้ต้องระบุและประเมินจาก ข้อมูลการเจ็บป่วย รายงานต่าง ๆ ที่เป็นทางด้านวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นที่รับรู้กันหรือที่เป็นอันตรายที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างมีเหตุมีผล สำหรับแต่ละ ประเภทของอาหารที่มีการนำเข้าเพื่อตัดสินว่ามีอันตรายที่จำต้องมีการควบคุม หรือไม่อันตรายเหล่านี้รวมถึง

(1) อันตรายด้านชีวภาพ รวมถึงพยาธิและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค

(2) อันตรายด้านเคมีรวมถึงอันตรายด้านรังสีการตกค้างของยาฆ่าแมลงและยาพิษที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติการเน่าเสีย ของอาหาร อาหารที่ไม่ได้รับการรับรอง หรือสารประกอบอาหารที่เป็นสีและสารที่ก่อให้เกิดการแพ้อาหาร (3) อันตรายด้านร่างกาย เช่น แก้ว

4.2 อัตรายที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่ได้ ตั้งใจให้เกิดขึ้น หรือมีความตั้งใจให้เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ เช่น การแทนที่ส่วนผสมด้วยสิ่งอื่นที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า

4.3 การวิเคราะห์จะต้องวัดความเป็นไปได้ที่อันตรายเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อขาด การควบคุมและความสาหัสของการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น

4.4 การประเมินจะต้องพิจารณาเงื่อนไขที่รวมถึง

(1) การทำสูตร (formulation) อาหาร

(2) สภาวะปฏิบัติการ และ การออกแบบสถานที่และเครื่องมือที่ใช้เป็นปกติในการผลิตอาหาร

(3) วัตถุดิบและส่วนผสมอื่น ๆ

(4) ปฏิบัติการด้านการขนส่ง

(5) การเก็บเกี่ยว การเลี้ยง การผลิตในโรงงานผลิต ปฏิบัติการด้านการผลิตและการทำบรรจุภัณฑ์

(6) กิจกรรมต่าง ๆ ด้านบรรจุภัณฑ์และการปิดฉลาก

(7) การเก็บสินค้าและการกระจายสินค้า

(8) การใช้ที่ตั้งใจจะให้เป็นหรือที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างมีเหตุมีผล

(9) สุขอนามัย รวมถึงสุขลักษณะของคนงาน

4.5 ผู้นำเข้าสามารถใช้บุคคล/องค์กรอื่นในการทำการวิเคราะห์อันตรายได้ตราบเท่าที่ผู้นำเข้าทำการทบทวนและประเมินเอกสารที่เกี่ยวข้อง

5. การประเมินความเสี่ยงของอาหารและปฏิบัติการของผู้จัดหาอุปทาน

5.1 ผู้นำเข้าจะต้องประเมิน

(1) การวิเคราะห์อันตราย

(2) บุคคลหรือองคกรที่จะช่วยทำให้อยู่ในระดับต่ำหรือป้องกันอันตราย เช่น ผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ หรือวัตถุดิบของผู้จัดหาอุปทาน หรือ ส่วนผสมของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร

(3) กฎระเบียบต่าง ๆ ของ FDA เรื่องความปลอดภัยของอาหารที่สามารถนำมาใช้ได้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ

(4) ประวัติเรื่องความปลอดภัยของอาหารของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ รวมถึงการตอบสนองของผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศด้านการแก้ไขปัญหา

(5) เงื่อนไขอื่น ๆ เท่าที่จำเป็น รวมถึงปฏิบัติการที่เป็นด้านการเก็บสินค้าและการขนส่ง

5.2 ผู้นำเข้าสามารถพึ่งพาบุคคลหรือองค์กรอื่น (ที่ไม่ใช่ผู้จัดหาอุปทานใน   ต่างประเทศ) ในการปฏิบัติงานด้านการประเมินความเสี่ยง ตราบใดที่ผู้นำ    เข้าทำการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

6. การรับรองผู้จัดหาอุปทาน

6.1 กิจกรรมด้านการรับรองผู้จัดหาอุปทาน อยู่บนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยงที่ไ้ด้ถูกจัดทำขื้น ผู้นำเข้าจะต้องจัดทำ และทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีการเขียนไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักประกันว่าได้ทำการนำ เข้าจากผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น และจะ ต้องทำกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อเป็นการรับรองผู้จัดหาอุปทาน

6.2 ผู้นำเข้ามีความยืดหยุ่นในการจัดทำกิจกรรมที่เป็นการรับรองผู้จัดหาอุปทาน พิเศษสำหรับความเสี่ยงของอาหารและลักษณะของผู้จัดหาอุปทาน ทางเลือกรวมถึง

(1) การตรวจ (audit) โรงงานของผู้จัดหาอุปทานเป็นประจำทุกปี โดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งที่จะต้องทำเมื่อมีเหตุผลเชื่อได้ว่าอาจมีการเข้าถึง อันตรายที่ผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศควบคุมอยู่ที่จะส่งผลลัพท์ ให้เกิดผลกระทบตามมาที่เป็นด้านลบต่อสุขภาพหรือความตายของมนุษย์และสัตว์ (ที่เรียกว่าอันตรายแบบ SAHCODHA)

อย่างไรก็ดีผู้นำเข้าสามารถเลือกวิธีอื่นในการทำการรับรองเมื่อผู้นำเข้าจัดทำเอกสารทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและจัดหาหลักประกันต่าง ๆ ที่เหมาะสมว่าผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศกำลังทำการผลิตอาหารที่เป็นไปตาม มาตรฐาน

ด้านความปลอดภัยของสหรัฐฯ ที่สามารถนำมาใช้ได้

(1) การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบ

(2) การทบทวนบันทึกประวัติความปลอดภัยของอาหารที่เกี่ยวข้องของผู้จัดหาอุปทาน

6.3 ผู้นำเข้าสามารถใช้บุคคลหรือองค์กรอื่น (ที่ไม่ใช่ผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศ) ในการตัดสินและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่เป็นการรับรองผู้จัดหาอุปทาน ตราบเท่าที่ผู้นำเข้าทำการทบทวนและวัดผลเอกสารที่เกี่ยวข้อง

7. การแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้ามีสิ่งผิดปกติ ผู้นำเข้าจะต้องทำกิจกรรมแก้ไขให้ถูกต้องโดยทันทีถ้าการจัดหาอุปทานใน ต่างประเทศไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติการและขบวนการที่จัดหาการป้องกันสุขภาพ สาธารณชนในระดับ เดียวกันตามที่ถูกกำหนดให้ทำภายใต้กฎระเบียบเรื่องการควบคุมด้านการ    ป้องกันและปฏิบัติการด้านความปลอดภัย ตามที่สามารถนำมาใช้ได้หรือผู้จัดหาอุปทานผลิตอาหารที่ถูกเจือปนสิ่งสกปรก หรือติดฉลากไม่ถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปิดฉลากเตือนเรื่องอาหาร ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้

มาตรการที่เหมาะสมกับการแก้ไขขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม แต่อาจจะรวมถึงการหยุดใช้ผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศรายดังกล่าวจนกว่าสา เหตุของการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การเจือปนสกปรก หรือการปิด  ฉลากไม่ถูกต้องได้รับการระบุแล้วอย่างเหมาะสม

8. ข้อยกเว้นและมาตรฐานการแก้ไขดัดแปลง

8.1 ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมจะแตกต่างออกไปตามจำนวนของตัวแปร รวมถึงการนำเข้าสินค้าที่ทำเสร็จแล้ว หรือเป็นส่วนผสม/ส่วนประกอบ

(1) ผู้นำเข้าที่จัดทำและรับรองว่ามีการปฏิบัติตามสเปค (ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบและการทำบรรจุภัณฑ์ของ อาหารเสริม) ที่ถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่แยกออกไปและที่มีอยู่แล้วคือ Current Good Manufacturing Practices (CGMP) จะไม่ถูกกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานส่วนใหญ่ของข้อบังคับ FSVP

(2) สิ่งเดียวกันอาจจะนำไปใช้ได้กับผู้นำเข้าที่ลูกค้ากำหนดและการรับรอง  การบรรลุถึงข้อกำหนด ยกเว้นผู้นำเข้าอาจต้องได้หลักประกันที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าลูกค้าของตน กำลัง ปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้น

(3) ผู้นำเข้าอาหารเสริมอื่น ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้ว อาจถูกกำหนดให้ต้องทำตามข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน FSVP (ยกเว้นข้อบังคับเรื่องการวิเคราะห์อันตราย) กิจกรรมด้านการรับรองอาจเน้นไปที่การปฏิบัติตามกฎระเบียบเรื่อง CGMP ของอาหารเสริม

8.2 ข้อบังคับของ FSVP ที่ดัดแปลงแก้ไข จัดทำขึ้นสำหรับผู้นำเข้ารายเล็กมากและผู้นำเข้าอาหารจากอุปทานรายย่อยบาง ราย (ยกตัวอย่างข้อบังคับที่ถูกดัดแปลงแก้ไขเหล่านี้ เช่น ผู้นำเข้าบางรายอาจไม่ต้องทำการวิเคราะห์อันตราย และอาจสามารถรับรองผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศของตนโดยการรับหลักประกันที่ เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้จัดหาอุปทาน)

(1) คำจำกัดความของคำว่าผู้นำเข้ารายเล็กมากจะสอดคล้องกับคำจำกัดความของธุรกิจ ขนาดเล็กมากด้านกฎระเบียบ เรื่องการควบคุมที่เป็นด้านการป้องกัน คือ เพดานของยอดการขายที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอาหารสำหรับมนุษย์ และ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอาหารสำหรับสัตว์

(2) ผู้นำเข้าจากผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศที่เป็นรายเล็กบางรายอาจตกอยู่ภาย ใต้ข้อกำหนดของ FSVP ที่แก้ไขแล้วโดยผู้จัดหาอุปทานรายเล็ก คือ

(•) โรงงานที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วภายใต้กฎระเบียบเรื่องการควบคุมที่ด้านการป้องกัน

(•) เรือกสวนไร่นาที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ กฎระเบียบความปลอดภัยในการผลิตเพราะมียอด ขายสินค้าพืชผักผลไม้สดเฉลี่ย 25,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อไป หรือต่ำกว่า หรือบรรลุถึงข้อบังคับ ที่ได้รับการยกเว้นเนื่องจากมีคุณสมบัติตามที่กำหนด

(•) ผู้ผลิตไข่ที่ยังอยู่ในเปลือกที่แม่ไก่วางไข่ได้น้อยกว่า 3,000 ตัว

(•) แต่ละประเภทของผู้ผลิตเหล่านี้อาจจะได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบของ FDA เรื่องความปลอดภัยของอาหารหรือตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่ถูกดัดแปลงแก้ไขแล้ว เพราะขนาดของบริษัท

8.3 มีข้อบังคับที่ได้รับการแก้ไขดัดแปลงสำหรับอาหารบางประเภทจากผู้จัดหาอุปทาน ในต่างประเทศในประเทศที่ระบบความปลอดภัยของอาหารไดรับการยอมรับว่าเที ยบเท่าหรือได้รับการตัดสินว่าเท่าเทียมกับระบบของสหรัฐฯ

8.4 อาหารบางประเภทที่นำเข้าสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้ FSVPได้แก่

(1) น้ำผลไม้(juice) ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา ที่ตกอยู่และที่ต้องปฏิบัติตามกฎ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ของ FDA ส่วนผสมบางอย่างสำหรับใช้ในน้ำผลไม้ (juice) และ ปลา และผลิตภัณฑ์ปลาที่ตกอยู่ภายใต้กฎระเบียบ HACCP

(2) อาหารเพื่อการวิจัยหรือการประเมินผล

(3) อาหารสำหรับการบริโภคส่วนบุคคล

(4) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และส่วนผสมบางรายการสำหรับใช้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

(5) อาหารนำเข้าเพื่อการผลิตและการส่งออกต่อไปในอนาคต

(6) อาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ (low-acid canned foods – LACF) เช่น ผักกระป๋อง เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอันตรายที่เป็นจุลชีวะที่ควบคุมอยู่ภายใต้กฎระเบียบ อื่นๆ และส่วนผสมบางอย่างสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ LACF (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอันตรายที่เป็นด้านจุลชีวะ)

(7) เนื้อบางอย่าง สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ไข่ ที่ถูกควบคุมโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ในเวลาของการนำเข้า

9. วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้อย่างน้อยที่สุด

9.1 18 เดือนหลังจากวันที่ประกาศกฎระเบียบสุดท้าย

9.2 สำหรับการนำเข้าอาหารจากผู้จัดหาอุปทานที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขกฎระเบียบต่าง ๆ เรื่องการควบคุมที่เป็นด้านการป้องกัน หรือการผลิต 6 เดือนหลังจากที่ผู้จัดหาอุปทานในต่างประเทศถูกกำหนดให้ต้องบรรลุถึงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

9.3 สำหรับผู้นำเข้าที่ตนเองเป็นโรงงานผลิตหรือผู้ผลิตที่ตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติ โปรแกรมห่วงโซ่อุปทานกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านการควบคุมการ  ป้องกัน

วันที่คือวันที่ที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัตินั้น ระดับของวันที่ที่จะต้องปฏิบัติตามถูกจัดทำไว้แล้วในกฎระเบียบด้านการควบคุม ที่เป็นการป้องกันสำหรับบทบัญญติ โปรแกรมห่วงโซ่อุปทานซึ่งแตกต่างกันออกไปตามขนาดของโรงงานและเมื่อโรงงานของ ผู้จัดหาอุปทานกำหนดว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ของ FSMA

10. ความช่วยเหลือที่มีให้แก่ภาคอุตสาหกรรม

10.1 FDA จัดทำเอกสารแนะแนวในเรื่องต่าง ๆ รวมถึง

(1) แนวทางโดยทั่วไปของ FSVP

(2) ความเชี่ยวชาญที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ตรวจสอบ (auditor) ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน

10.2 แผนสำหรับการฝึกอบรมและการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคกำลังดำเนินอยู่ รวมถึง

(1) การร่วมมือกับอุตสาหกรรมอาหาร องค์กรด้านการศึกษา กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ หน่วยงาน United States Agency for International Development และรัฐบาลต่างประเทศ ในการพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมด้านการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อการอำนวยความ สะดวกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของผู้ส่งออกรวมถึง ผู้ที่มาจากประเทศกำลังพัฒนา

(2) จัดทำ FDA FSMA Food Safety Technical Assistance Network ซึ่งในตอนนี้กำลังจัดทำอยู่ เพื่อจัดหาแหล่งที่จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนความเข้าใจของภาคอุตสาหกรรมและการจัดทำ FSMA

(3) การร่วมมือกับ Food Safety Preventive Controls Alliance (FSPCA) ในการจัดทำการฝึกอบรมและโปรแกรมช่วยเหลือด้านเทคนิค

(•) หลักสูตรการฝึกอบรม FSPCA รวมถึงหลักสูตรเรื่องกฎระเบียบ FSVP สำหรับผู้ผลิตที่นำเข้าอาหาร และชั่วโมงเรียน FSVP สำหรับผู้นำเข้าที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต

533 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top