รายงานสถานะล่าสุดการเจรจาความตกลง TPP (7)
๑. การแถลงนโยบายประจำปีของ ปธน. สหรัฐฯ เมื่อ ๑๒ ม.ค.๕๙ ปธน. Obama ได้ แถลงนโยบายประจำปี ๒๕๕๙ (State of the Union) ซึ่งถือเป็นการแถลงนโยบายและผลงานครั้งสุดท้าย ก่อนที่รัฐบาล Obama จะหมดวาระลงในเดือน ม.ค. ปีหน้า โดย ปธน. Obama ได้กล่าวเน้นย้ำถึงการ ผลักดันหนึ่งในนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ การเข้าร่วม คตล. TPP โดยได้โน้มน้าวให้รัฐสภาสหรัฐฯ พิจารณาผ่านร่างกม. เพื่อให้ คตล. ดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อสหรัฐฯ ในการขยายตลาดในเขตภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกแล้ว ยังเป็นการคานอำนาจทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้าที่สำคัญของ ภูมิภาคอีกด้วย
๒. การเปิดอภิปรายเพื่อประเมินผลกระทบของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อการเข้าร่วม คตล. TPP โดย U.S. International Trade Commission (USITC) เมื่อ ๑๓ ม.ค. ๕๙ USITC ได้ทำการเปิด public hearing เพื่อรับฟังความคิดเห็นและผลกระทบต่อการเข้าร่วม คตล. TPP ของสหรัฐฯ จากภาคส่วนต่าง ๆ ใช้เวลาทั้งหมด ๓ วัน มีตัวแทนจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เข้าร่วม ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น หลังจากที่ ปธน. ได้ลงนามในข้อตกลง ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ ๔ ก.พ. ๕๙ ที่ประเทศนิวซีแลนด์ USITC จะต้องจัดทำรายงานเสนอแก่ ปธน. และรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อประกอบการพิจารณาภายใน ๑๐๕ วัน
๓. Wal-Mart ประกาศสนับสนุนการเข้าร่วม คตล. TPP ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ Wal-Mart ได้ออกมาสนับสนุนการเข้าร่วม คตล. TPP โดยนาง Sarah Thorn ผู้ดำรงตำแหน่ง Senior Director of Government Affair and International Trade กล่าวว่า การเข้าร่วม คตล. TPP จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมแฟชั่นของสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก โดยปัจจุบัน สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าประเภทแฟชั่นจากประเทศสมาชิก TPP เป็นมูลค่า ๒๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกมูลค่า ๑๔.๒๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หนึ่งในสินค้าที่ Wal-Mart จะได้รับผลประโยชน์จาก TPP อย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ สินค้าประเภท footwear ซึ่งมีเวียดนามเป็น supplier ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากจีน โดยจะส่งผล ให้มีการลดและยกเลิกการเก็บอัตราภาษีภายใน ๑๒ ปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๔๕๐ ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
๔. ผู้ผลิตแร่ titanium ของสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อการเข้าร่วม คตล. TPP บริษัท Titanium Metals Corporation (TIMET) และบริษัท Allegheny Technologies Incorporated (ATI) สองบริษัทผู้ผลิต titanium รายใหญ่ของสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่ออุตสาหกรรมการผลิตแร่ titanium ภายในสหรัฐฯ ต่อ คตล. TPP ว่าแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) และข้อกำหนดด้านการเข้าถึงตลาดภายใต้ คตล. ดังกล่าว จะส่งผลให้มีการนำเข้าโลหะปลอดภาษีจากญี่ปุ่น และผู้ผลิตหลักรายอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มสมาชิกอย่างจีนและรัสเซียเพิ่ม ขึ้น ภายใต้ คตล. TPP สหรัฐฯ จะทำการยกเว้นภาษีสินค้าแร่ titanium แก่ทุกประเทศสมาชิกทันที ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตราร้อยละ ๕.๕ – ๑๕ ยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการทยอยปรับลดภาษีสำหรับ titanium และ titanium แบบแปรรูปในกรอบระยะเวลา ๑๐ ปี และ ๑๕ ปีตามลำดับ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นอาจใช้วิธีเลี่ยงภาษีดังกล่าวโดยการส่ง titanium ไปที่มาเลเซียเพื่อผ่านกระบวนการแปรรูปและส่งออกมายังสหรัฐฯ อีกครั้ง
จัดทำโดย สอท. ณ กรุงวอชิงตัน