รายงานสถานะล่าสุดการเจรจาความตกลง TPP (8)

2018-06-07T20:35:33-04:00February 1, 2016|Categories: ความตกลงการค้าเสรี|

รายงานสถานะล่าสุดการเจรจาความตกลง TPP (8)

๑. U.S. Trade Representative ขอให้นายกเทศมนตรีสนับสนุนการผ่านร่าง TPP เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๙ ระหว่างการประชุม U.S. Conference of Mayors นาย Michael Froman ผู้ดำรงตำแหน่ง USTR ได้กล่าวต่อหน้าที่ประชุม เพื่อขอการสนับสนุนจากกลุ่มนายกเทศมนตรีในการผ่านร่าง คตล. TPP โดยกล่าวว่า คตล. ดังกล่าวจะช่วยลดภาษีให้แก่ผู้ส่งออกชาวสหรัฐฯ เพิ่มรายได้ให้ชนชั้นกลางและช่วยเหลือกลุ่มนักธุรกิจสหรัฐฯ ขนาดย่อมในการลงทุนในต่างประเทศ

๒. นรม. ออสเตรเลียกล่าวถึง TPP ในการเยือนสหรัฐฯ ครั้งแรกอย่างเป็นทางการของนาย Malcolm Turnbull นรม. ออสเตรเลียคนล่าสุด ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๙ นาย Malcolm ได้กล่าวต่อสภาหอการค้าสหรัฐฯ ถึงความสำคัญของ คตล. TPP ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และกลุ่ม ปท. สมาชิก โดยกล่าวว่า คตล. ดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนการเปิดตลาดทางการค้าการดำเนินการทางธุรกิจอย่าง โปร่งใส และการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ นาย Malcolm ยังได้กล่าวโน้มน้าวให้รัฐสภาสหรัฐฯ ทำการผ่านร่างกม. เพื่อให้ คตล. มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด

๓. ความเห็นต่อการเข้าร่วม TPP ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ปธน. จากพรรคริพับลิกันผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ปธน. จากพรรคริพับลิกันยังมีความเห็นต่อการเข้าร่วม TPP ของสหรัฐฯ แตกต่างกัน โดยล่าสุด มีผู้ที่ให้การสนับสนุนการเข้าร่วมดังกล่าว ได้แก่ นาย Jeb Bush นาย John Kasich และนาย Ben Carson แต่ยังคงมีข้อกังวลในเรื่องกระบวนการเจรจาต่อรอง ในส่วนของผู้ลงสมัครที่ปัจจุบันยังคงไม่ให้การสนับสนุน แต่ได้เสนอแนวทางให้มีการขยายเวลาการพิจารณา คตล. ดังกล่าวออกไปในสมัยรัฐบาลต่อไป ได้แก่ นาย Donald Trump นาย Ted Cruz นาย Chris Christie นาง Carly Fiorina นาย Mike Huckabee และนาย Rick Santorum ในขณะเดียวกัน ยังมีผู้ที่ไม่ขอความออกคิดเห็น เนื่องจากยังคงอยู่ในช่วงพิจารณาทบทวนเนื้อหาใน คตล. ดังกล่าว ได้แก่ นาย Marco Rubio และนาย Rand Paul

๔. รายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อการเข้าร่วม TPP จัดทำโดย Tufts University สถาบัน Global Development And Environment Institute, Tufts University ได้ตีพิมพ์รายงานในหัวข้อเรื่อง “Trading Down: Unemployment, Inequality and Other Risks of the TPP” คาดการณ์ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศที่เข้าร่วม คตล. TPP โดยนักวิเคราะห์ได้ประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าเพื่อเข้าร่วม TPP อัตราการเติบโตของ GDP สหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงในอัตราร้อยละ ๐.๕๔ ในช่วง ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๘ ในขณะที่อัตราการเติบโตของ GDP ญี่ปุ่น จะปรับตัวลดลงในอัตราร้อยละ ๐.๑๒ ในช่วงเดียวกัน (รายงานฉบับเต็ม – http://www.ase.tufts.edu/gdae/Pubs/wp/16-01CapaldoIzurietaTPP.pdf)

ในส่วนของการจ้างงาน นักวิเคราะห์คาดว่า ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๘ กลุ่มประเทศสมาชิกจะสูญเสียการจ้างงานรวมกันเป็นจำนวนประมาณ ๗๗๐,๐๐๐ งาน โดยสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ๔๔๘,๐๐๐ งาน และในส่วนของประเทศที่มิได้เข้าร่วมกลุ่มสมาชิก ได้แก่ ประเทศเศรษฐกิจแบบพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจะสูญเสียการจ้างงานรวมกันเป็น จำนวนประมาณ ๘๗๙,๐๐๐ งาน และ ๔,๔๕๐,๐๐๐ งาน ตามลำดับ นักวิเคราะห์ให้เหตุผลว่า ผลกระทบในทางลบทางเศรษฐกิจจากการเข้าร่วม คตล. TPP เกิดจากปัจจัยหลักสองประการ คือ ประการแรก การแทนที่อุตสาหกรรมการผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศด้วยการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งใช้แรงงานน้อยกว่า และใช้วัตถุดิบที่นำเข้ามากขึ้นและ ประการที่สอง คือ การแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการลดต้นทุนในด้านแรงงาน และเน้นการแสวงหาผลกำไรในระยะสั้น โดยทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันและการหดตัว ลงของอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ

อ่านรายงาน

จัดทำโดย สอท. ณ กรุงวอชิงตัน

Share This Post!

41 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top