ออกแบบแหวนอย่างไรให้โดนใจเกย์และเลสเบี้ยน
ปัจจุบันนี้การแต่งงานของเพศเดียวกันถือเป็นความจริงของชีวิตอีกประการหนึ่งชาวอเมริกันไปแล้ว เมื่อศาลสูงของสหรัฐฯ ได้ตัดสินให้การสมรสเพศเดียวกันมีผลทางกฎหมายอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วทั้ง 50 รัฐ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ากลุ่มประชากรใหม่กลุ่มนี้ต้องมีการขอแต่งงานและแลกแหวนกันอย่างเอิกเกริก แต่ช่างน่าสงสัยจริงหนอว่าแหวนแบบไหนสไตล์ไหนที่จะเป็นที่ต้องตาตรึงใจสําหรับพวกเขา?
Rony Tennenbaum นักออกแบบเครื่องประดับ สําหรับชาว LGBT มานานนับทศวรรษคนหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก ให้ ความเห็นว่า บรรดาคู่เกย์ทั้งหลายยังมัวแต่วุ่นวายอยู่กับการต่อสู้เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมในการแต่งงาน ยังไม่ได้สนใจเรื่องพิธีรีตองอย่างจริงจังนัก แต่ทั้งนี้ ในฐานะที่ตัวเขาเองก็เป็นเกย์คนหนึ่งที่ใช้ชีวิตกับคู่รักมา 22 ปี มองว่าตัวเขาได้ผ่านช่วงสําคัญของการแต่งงานมาแล้วโดยไม่ใยดีว่าจะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ขณะที่คู่รักคู่อื่น ๆ ยังรู้สึกสับสนและมีคําถามประดังขึ้นมากมายในหัว เช่น ฉันควรจะทําอย่างไรกับชีวิตต่อไปดีหนอ? ฉันควรย้อนเวลากลับไปทําพิธีหมั้นหมายกับคู่ชีวิตก่อนดีไหม? เราควรเริ่มที่จะเลือกซื้อแหวนแต่งงานได้หรือยังนะ?……..
คู่รักชาวเกย์เลือกซื้อหาแหวนหมั้นและแหวนแต่งงานอย่างไร?
พวกเขายังรู้สึกขาดความมั่นใจโดยเฉพาะคู่รักที่มีอายุมากหน่อย อาจเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีกับการไม่ได้รับการยอมรับของสังคมในอดีตที่ผ่านมาและยังรู้สึกเกรง ๆ ว่าพนักงานขายของร้านจิวเวลรี่ส่วนมากยังไม่ยอมรับสถานะการแต่งงานของพวกเขา Rachel Meyering เจ้าของร้าน Sparkles ในนครชิคาโกแนะนําว่า สิ่งสําคัญที่สุดคือการทําให้คู่เกย์ผ่อนคลายมาก ๆ เมื่อเดินเข้ามาในร้านเพราะพวกเขารู้สึกตื่นเต้น ดังนั้น ในฐานะผู้ขายที่ดีต้องทําให้แน่ใจว่าลูกค้าทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน เพราะใคร ๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะรักกับใครก็ตามที่ใจเขาต้องการ
Rony Tennenbaum กล่าวต่อว่า มันเป็นเรื่องสําคัญในการสร้างบรรยากาศให้เกิดความสบายท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ให้การเอื้อหนุน หากห้างใดก็ตามที่สั่งซื้อสินค้าจากเขาไปจําหน่าย เขาจะลงทุนเปิดการฝึกอบรมบรรยายวิธีดูแลลูกค้ากลุ่มนี้เป็นการเฉพาะให้เลย โดยเน้นความตระหนักว่าเราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทําธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่นี้ พิธีการแนวทางปฏิบัติกับพวกเขายังไม่เคยมีการบัญญัติมาก่อน ขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังไม่ทราบว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่เหมาะกับพวกเขา
Rachel Meyering เชื่อว่าร้านค้าบางรายมักคิดไปเองว่าจะต้องเสนอขายสินค้าให้กับคู่เกย์ในรูปแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งที่จริงแล้วเราควรจะเคารพลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกันและพยายามค้นหาให้พบว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการอะไร จริงอยู่ว่ามีลูกค้ากลุ่ม LGBT ส่วนหนึ่งที่มองหาสินค้าแบบเรียบ ๆ ไม่หวือหวา เพียงแต่ขอให้มีลักษณะพิเศษในสไตล์ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของพวกเขาก็พอ
มีนักออกแบบบางรายที่ได้พัฒนารูปแบบแหวนสําหรับลูกค้าชาว LGBT มาแต่ดั้งเดิมก่อนที่จะเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน ได้แก่ Gaia Pelikan นักออกแบบแหวนโลหะแนวเส้นขลิบสีทอง เคยให้ความเห็นไว้เมื่อยี่สิบปีที่ผ่านมาว่ากลุ่มเกย์เป็นลูกค้าที่สําคัญที่สุดกลุ่มหนึ่งของเขา ส่วน Todd Reed เป็นนักออกแบบผู้หนึ่งที่มีกลุ่มเกย์เป็นลูกค้าอย่างเหนียวแน่น และ Jacob Albee จากรัฐเวอร์มอนท์ที่ซึ่งเป็นรัฐแรกที่แก้กฏหมายยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกันในสหรัฐฯ ก็เป็นนักออกแบบแหวนที่เน้นกลุ่มลูกค้า LGBT มาโดยตลอด
Todd Reed กล่าวว่าในช่วงยี่สิบปีแรกของชีวิตการออกแบบแหวนแต่งงาน ผู้หญิงวัย 55 – 75 ปี และชาวเกย์คือกลุ่มลูกค้าหลักของเขา แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาตลาดได้เปิดกว้างขึ้นมีคู่เลสเบี้ยนเริ่มหันมาซื้อแหวนจากเขา เช่นเดียวกับกลุ่มลูกค้าทั่วไปในวัย 20 กว่า ๆ และ 30 กว่า ๆ ที่ต้องการหลีกหนีรูปแบบเดิม ๆ และต้องการความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น นักออกแบบเหล่านี้ผลิตแหวนที่มีลักษณะทนทานแต่ดูทันสมัยและมีลักษณะเฉพาะตัวตกแต่งเล่น ลวดลายด้วยสีสันและวัสดุพื้นผิว โดยวางตําแหน่งให้เบี่ยงจากศูนย์กลางของแหวนไปทางริมด้านซ้ายเล็กน้อย
ไม่เพียงแต่กลุ่ม LGBT ที่มีกระแสรสนิยมเปลี่ยนแปลงไป แม้แต่ชายจริงหญิงแท้เองก็เริ่มรู้สึกเบื่อรูปแบบแหวนหมั้นโบราณในสไตล์ของ Tiffany โดยเฉพาะผู้หญิงไม่รู้สึกพิศวาสกับแหวนรูปทรงที่มีเพชรอยู่ตรงกลางโดด ๆ อย่างเชย ๆ อีกต่อไป คู่แต่งงานเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ยึดติดกับแหวนเพียงวงเดียวไปตลอดชีวิต มีหลายคู่ที่ต้องการเปลี่ยนแหวนวงใหม่ซึ่งแบบแหวนทองรุ่น Tie a Knot เป็นแบบแหวนหมั้นที่ขายดีที่สุด ซึ่งมองมุมไหนก็ไม่ได้มีลักษณะเป็นแหวนหมั้นเอาเสียเลย
ถัดไป เป็นแหวน Bricks collection ของ Tennenbaum ถือเป็นแหวนหมั้นเพชรรุ่นที่ขายดีที่สุด สําหรับคู่เลสเบี้ยน ย้อนไปสมัยที่เขาเปิดร้านในย่าน Soho ในนิวยอร์กเมื่อสามปีก่อน ลูกค้าชาวเลสเบี้ยนมักจะถามหาแบบแหวนที่แปลกไปจากของเดิม ๆ โดยมีลักษณะคงทนใช้งานได้ยาวนาน นั่นจึงเป็นโจทย์ให้เขาคิดค้นแหวนรุ่น Bricks ขึ้นมา ประดับด้วยเพชรเจียรไนทรงสี่เหลี่ยมแบบ princess-cut พร้อมแทรกสถาปัตยกรรมรูปก้อนอิฐที่บ่งบอกถึงความคงทนเพื่อสนองความต้องการลูกค้า
ขณะเดียวกัน เขาก็ไม่ได้ทอดทิ้งกลุ่มลูกค้าเลสเบี้ยนที่มองหาแหวนหมั้นแบบดั้งเดิมเสียทีเดียว เพียงแต่ลูกค้าคู่เลสเบี้ยนส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบที่แตกต่าง พวกเขาชอบแบบที่ไม่ได้ดูพื้น ๆ ขณะเดียวกันต้องมีความคิดนอกกรอบสอดแทรกอยู่ด้วย ลูกค้ากลุ่ม LGBT เป็นผู้บริโภคที่มีรสนิยมสูงและต้องการสิ่งที่มีคุณภาพเหนือกว่าปกติ ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะพิเศษความเป็นตัวตนของพวกเขาที่ต้องการเป็นผู้กําหนดทิศทางแฟชั่น ด้วยแนวคิดที่ต้องก้าวล้ํานําหน้ากว่าใครเพื่อนในพื้นพิภพ
การแต่งงานเพศเดียวกันมีการแลกเปลี่ยนแหวนกันเหมือนคู่ชาย-หญิงปกติหรือไม่?
สําหรับคู่ชาย-หญิงที่มาซื้อแหวนจากร้าน Sparkles พบว่าผู้หญิงจะได้รับแหวนหมั้นก่อนหนึ่งวง หลังจากนั้นเจ้าบ่าวและเจ้าสาวก็จะมีการแลกเปลี่ยนแหวนแต่งงานกันอีกรอบรวมทั้งสิ้น 3 วง ต่างจากคู่เกย์จะใช้จํานวนแหวนน้อยกว่านั้น 1 วง ส่วนคู่เลสเบี้ยนจะใช้เพิ่มจากคู่ชาย-หญิงปกติ 1 วง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคู่ด้วย แต่สําหรับคู่เกย์ส่วนใหญ่ ฝ่ายผู้ขอแต่งงานจะมอบแหวนขณะขอแต่งงาน 1 วง เมื่อหมั้นหมายกันเรียบร้อยแล้ว เขาจะกลับมาซื้อแหวนเพิ่มอีก 1 วงสําหรับฝ่ายผู้ขอแต่งงาน เพื่อให้อย่างน้อยทั้งสองฝ่ายมีไว้สวมใส่เพื่อแสดงถึงความตื่นเต้นและความรักที่มีต่อกัน
คู่เกย์ส่วนมากจะใช้แหวนหมั้นเป็นแหวนแต่งงานด้วย ยกเว้นสําหรับบางคู่ที่ซื้อทั้งแหวนหมั้นและแหวนแต่งงาน ดังนั้น จึงใช้แหวนทั้งหมด 4 วงด้วยกัน แต่ส่วนมากแล้วจะใช้เพียง 2 วงเท่านั้น จากพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าพบว่าแหวนเป็นสื่อแสดงความสัมพันธ์บางอย่างที่เชื่อมโยงกันของทั้งสองฝ่าย โดยคู่เกย์ส่วนมากจะใช้แหวนคู่ที่มีลักษณะเหมือนกัน อาจแตกต่างไปบ้างที่ สีโลหะ ความกว้าง หรืออัญมณีที่ใช้ประดับ ขณะที่คู่เลสเบี้ยนมักจะซื้อทั้งแหวนหมั้นและแหวนแต่งงานแยกกันคนละวงสําหรับทั้งสองฝ่าย
ในช่วงแรกหลังจากการแต่งงานเพศเดียวกันมีผลทางกฎหมายนี้ จะเห็นว่ากลุ่มคู่รักชาว LGBT ที่ค่อนข้างมีอายุและอยู่อาศัยด้วยกันมานานนับทศวรรษออกมาทําพิธีแต่งงานกันเป็นจํานวนมาก ซึ่งคนเหล่านี้อยู่ในวัยที่มั่นคงและมีวุฒิภาวะสูง และเป็นที่ทราบกันดีว่าคู่เกย์เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีฐานะและมีไลฟ์สไตล์ที่เหนือกว่าประชากรทั่วไปโดยเฉลี่ยจึงส่งผลให้ธุรกิจด้านบริการและการท่องเที่ยวพยายามเอาอกเอาใจตลาดกลุ่ม LGBT เป็นพิเศษมากขึ้นกว่าเดิมจนธุรกิจโรงแรมที่เป็นมิตรกับ LGBT ขนานนามว่า Pink carpet
ข้อควรจํา: คู่รัก LGBT เป็นคู่รักเหมือนคนทั่ว ๆ ไปและจะผูกมัดความสัมพันธ์กันไปจนชั่วนิรันดร์
ที่มา: Gay bride parade: a guide to wedding rings for same-sex couples โดย Cathleen McCarthy กุมภาพันธ์ 2559
ขอบคุณข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองไมอามี