สหรัฐฯ ผ่าน กม. Illegal, Unreported, and Unregulated (IUU) Fishing Enforcement Act of 2015

สหรัฐฯ ผ่าน กม. Illegal, Unreported, and Unregulated (IUU) Fishing Enforcement Act of 2015

ความเดิม

เมื่อ 15 มี.ค. 58 คณะทำงานเฉพาะกิจสหรัฐฯ เพื่อปราบปราม IUU and Seafood Fraud ซึ่งแต่งตั้งโดย ปธน.โอบามา ได้ออกประกาศเผยแพร่แผนปฎิบัติการ 15 ข้อ แบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ (1) ครม.รปท. (2) การบังคับใช้ กม. (3) การสร้าง ครม.ภายใน และ (4) การตรวจสอบย้อนกลับมุ่งที่จะปรับปรุงการทำงานอย่างบูรณาการภายในสหรัฐฯ ปรับปรุงระบบการนำเข้าสินค้าที่อาจมาจากการทำประมง IUU และ Seafood Fraud การเพิ่ม ครม.รปท. ด้าน IUU โดยจะบรรจุเรื่องนี้ในทุกการเจรจาการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ กับ ปท. ต่างๆ

แผนปฎิบัติการของคณะทำงานเฉพาะกิจสหรัฐฯ แต่ละหัวข้อมีกำหนดดำเนินการแตกต่างกันในส่วนของการตรวจสอบย้อนกลับ (1) ระบุประเภทข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การนำเข้าสินค้าทะเลตั้งแต่การจับไปจนถึงการนำเข้าตลาดสหรัฐฯ โดยให้แล้วเสร็จภายใน ต.ค.58 (2) ระบุพันธุ์สัตว์น้ำที่เสี่ยงสูญพันธุ์ที่มีการนำเข้าสหรัฐฯ ภายใน ก.ย.59 (3) พิจารณาวิธีเผยแพร่ข้อมูลจากระบบตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าและสายพันธุ์ให้ผู้บริโภคได้รับทราบ (4) กำหนดแผนดำเนินเพื่อขยายโครงการต่อต้าน IUU และ Seafood Fraud จากข้อคิดเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใน ธ.ค.59 ในการนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นในขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ของคณะทำงานเฉพาะกิจสหรัฐฯ ด้าน IUU และ Seafood Fraud ซึ่งเป็นไปตาม กม. สหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส

เมื่อ ต.ค.58 รบ.สหรัฐฯ โดย National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ได้ประกาศรายชื่อสินค้าประมงที่มีความเสี่ยงต่อการทำประมง IUU และ Seafood Fraud ได้แก่ หอยเป๋าฮื้อ ปลาคอด (Atlantic Cod และ Pacific Cod) ปู (Blue Crab และ King Crab) ปลามาฮีมาฮี (Dolphinfish) ปลาเก๋า ปลากระพงแดง ปลิงทะเล ปลาฉลาม กุ้ง ปลาดาบ ปลาทูน่า (Albacore tuna / Bigeye tuna / Skipjack tuna / Yellowfin tuna)

เมื่อ 15 พ.ย.58 ปธน. โอบามา ได้ลงนามรับรองใน กม. IUU Fishing Enforcement Act of 2015 ที่ผ่านรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งถือว่า สหรัฐฯ ได้ให้สัตยาบรรณต่อ Port State Measures Agreement (PSMA) ของ FAO1 และมีพันธกรณีในการป้องกันไม่ให้สินค้าประมงผิดกม. เข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยชาวประมง ผู้ซื้อสินค้าประมง และผู้บริโภคปลอดจากการจับ/ซื้อ/บริโภคสินค้าประมงผิดกม. นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะเร่งผลักดันให้ ปท.ต่าง ๆ ให้สัตยาบันเพื่อให้ PSMA มีผลใช้บังคับ

โครงการตรวจสอบย้อนกลับ (U.S. Seafood Traceability Program)

เมื่อ 5 ก.พ.59 NOAA ประกาศเปิดรับฟังข้อคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ข้อมูลวิธีรายงานการนำเข้าสินค้าประมงที่มีความเสี่ยงต่อ IUU และ Seafood Fraud ตามนัยข้อ 1.3 และรวมถึง Bluefin Tuna ที่แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในรายชื่อสินค้าประมงที่มีความเสี่ยงต่อ IUU และ Seafood Fraud แต่ NOAA ก็เห็นควรที่จะรวมให้อยู่ในกฎเกณฑ์เดียวกับปลาทูน่าที่มีความเสี่ยง เพื่อการปกป้องพันธุ์ปลาทูน่าโดยรวม อย่างไรก็ดี ยังมีข้อสงวนในสินค้ากุ้งและหอยเป๋าฮื้อที่มาจากการทำฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ผลิตภายในสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลจากฟาร์มจะได้รับการอะลุ่มอล่วยจนกว่า รบ.สหรัฐฯ จะกำหนดกฎเกณฑ์การตรวจสอบย้อนกลับได้

การรายงานการนำเข้าจะบันทึกรายละเอียดในระบบจัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง (single window) โดยเรือประมงที่เข้าเทียบท่าเรือสหรัฐฯ เพื่อนำเข้าสินค้าประมง (ยกเว้นเรือที่แวะผ่าน) จะต้องแสดงเอกสารรายงานระบุสายพันธุ์ปลา วันที่จับ แหล่งที่จับ/แหล่งเพาะเลี้ยง ข้อมูลเรือประมง เพื่อให้สามารถติดตามแหล่งที่มาให้แน่ใจได้ว่า สินค้าดังกล่าวไม่ได้มาจากการทำประมง IUU และ Seafood Fraud

NOAA จะจัดการสัมมนาทางไกล (webinar) ใน 18 และ 24 ก.พ.59 และจัดการสัมมนาที่งาน Seafood Expo North America (Boston Seafood) ใน 7 มี.ค.59 ทั้งนี้ เปิดรับข้อคิดเห็นภายใน 60 วัน จนถึง 5 เม.ย.59 โดยผู้ที่ต้องการให้ข้อคิดเห็นสามารถส่งไปที่ NOAA ทางอีเมลSubmission@omb.eop.gov หรือแฟกซ์ +1 202 395 7285 รายละเอียดเว็บไซต์ https://www.federalregister.gov/articles/2016/02/05/2016-02216/ magnuson-stevens-fishery-conservation-and-management-act-seafood-import-monitoring-program

ข้อสังเกตและข้อคิดเห็น

กม. IUU สหรัฐฯ มีเป้าหมายให้การนำเข้าสินค้าประมงไม่ว่าจาก ปท. ใดก็ตามต้องไม่ได้มาจากการประมง IUU และต้องสามารถตรวจสอบที่มาย้อนกลับได้ โดยโครงการ U.S. Seafood Traceability Program เป็นกระบวนการตรวจสอบที่มาของสินค้าประมงที่มีความเสี่ยงต่อการประมง IUU และ Seafood Fraud

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (สอท.) เห็นว่า วิธีการรายงานการนำเข้าสินค้าประมงดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากและเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยไปยังสหรัฐฯ จึงควรแจ้งให้หน่วยงานและภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องรับทราบและพิจารณาให้ข้อคิดเห็นเพื่อปกป้องประโยชน์การส่งออกสินค้าประมงมายังสหรัฐฯ

ในการนี้ สอท. ได้สอบถามความเห็นจาก สปษ. ณ กรุงวอชิงตัน ทราบว่า กรมประมงจะต้องหารือกับภาคเอกชน และจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการรับฟังและแสดงความคิดเห็นในงานสัมมนาดังกล่าว ส่วนข้อเสนอของไทยต่อกฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจมีผลได้เพียงบางส่วน ดังนั้น ต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบและหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องปรับตัวให้เข้ากับหลักเกณฑ์ของสหรัฐฯ ในอนาคต

1.  Food and Agriculture Organization of United Nations (FAO) ได้จัดทำ คตล. PSMA กำหนดให้ประเทศภาคีตรวจสอบท่าเรือเพื่อป้องกันไม่ให้มีสินค้าประมงผิด กม. (IUU) เข้าสู่ตลาดซื้อขายอาหารทะเล อย่างไรก็ดี PSMA จะต้องมีประเทศให้สัตยาบรรณอย่างน้อย 25 ประเทศ จึงจะมีผลใช้บังคับได้ ขณะนี้มี 20 ประเทศ (รวมสหรัฐฯ) ที่ได้ให้สัตยาบรรณแล้ว

Share This Post!

65 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top