สหรัฐฯเตรียมออกกฎหมายใหม่สกัดสินค้าที่ใช้แรงงานผิดกฎหมายเข้าสู่ตลาด
86 ปีมาแล้วที่กฎหมาย The Tariff Act of 1930 ของสหรัฐฯ ห้ามการนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานที่ถูกบังคับ ยกเว้นในกรณีที่สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีความต้องการบริโภคในสหรัฐฯ เมื่อประธานาธิบดีโอบามาลงนามในร่างกฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement ที่คาดว่าจะกระทำในสัปดาห์นี้ ช่องโหว่ดังกล่าวข้างต้นจะถูกปิดลงและผลที่เกิดขึ้นตามมาจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
U.S. Department of Labor ระบุรายชื่อสินค้า 319 รายการที่เป็นแรงงานที่ถูกบีบบังคับ และ 102 สินค้าที่ผลิตโดยแรงงานผู้ใหญ่ที่เป็นแรงงานถูกบีบบังคับ สินค้าเหล่านี้รวมถึง Brazil nuts จากประเทศโบลิเวีย โกโก้จาก West Africa
การใช้แรงงานที่ถูกบีบบังคับในอุตสาหกรรมประมงที่มีฐานอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในประเทศไทยเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดกฎหมายข้อนี้ขึ้นมา กฎหมายนี้ได้รับการสนับสนุนจากข้อเสนออีกข้อหนึ่งของสหรัฐฯ ในการที่จะป้องกันสัตว์น้ำบางสายพันธุ์จากการประมงที่มากเกินไปและการทำให้เป็นเรื่องยากมากยิ่งขึ้นในการที่จะติดฉลากแจ้งประเภทของปลาในลักษณะที่เป็นการหลอกลวงผู้บริโภค
ข้อเสนอรายการหลังนี้จะกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องจัดทำ “ห่วงโซ่ของการครอบครอง” สินค้าอาหารทะเลตั้งแต่จากเรือประมงหรือจากฟาร์มเลี้ยงไปจนถึงจุดที่เข้าสู่ระบบการค้าในประเทศสหรัฐฯ ผ่านทางการสร้าง database สามารถสาวไปได้จนถึงจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดของปลานำเข้าดังกล่าว
มีกระแสข่าวว่ายุโรปกำลังจะดำเนินการปิดช่องโหว่ของการใช้แรงงานทาสในลักษณะเดียวกันกับข้อบังคับในกฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement เช่นการบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ แต่การห้ามการนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานที่ถูกบีบบังคับและการกำหนดให้ต้องมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้นในห่วงโซ่อุปทานจะทำให้เป็นการยากมากยิ่งขึ้นในการเอาเปรียบแรงงานทั่วโลก แม้ว่าจะทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นแต่ก็ต้องยอม
ที่มา: Los Angeles Times: “Shutting off the flow of slave labor goods to the U.S.”, by The times Editorial Board, February 21, 2016
ผู้จัดทำ นางนวลรัชนี เสถียรมาศ
ผู้ตรวจ นางจิรภาพรรณ มลิทอง
ขอบคุณข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส