Trans-Pacific Partnership (TPP): News & Developments

2018-06-07T20:05:41-04:00March 22, 2016|Categories: ความตกลงการค้าเสรี|

Trans-Pacific Partnership (TPP): News & Developments

IMF สนับสนุนความตกลง TPP พร้อมเน้นย้ำควรดำเนินควบคู่กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าภายใต้ WTO

ในการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศ G-20 ระหว่างวันที่ 26 – 27 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เผยแพร่เอกสารรายงาน Global Prospects and Policy Challenges ซึ่งใน ส่วนหนึ่งของรายงานได้กล่าวสนับสนุนความตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) ในการเป็นกลไกที่จะช่วยส่งเสริมการค้าในแบบที่เป็นองค์รวมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การบูรณาการระบบการค้าในกรอบทวิภาคีและ/หรือภูมิภาคควร ดำเนินควบคู่ไปกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) ในลักษณะที่เกื้อกูลกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลก

ประธานาธิบดีโอบามาระบุการผ่านความเห็นชอบความตกลง TPP เป็นประเด็นหลักที่ต้องมุ่งเน้นในปี 2559

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เผยแพร่รายงาน President Obama’s 2016 Trade Policy Agenda ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการค้าสหรัฐฯ ประจำปี 2559 รวมถึงการ ประเมินภาพรวมของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ในปี2558 ที่ผ่านมา ซึ่งจากรายงานดังกล่าวจะเห็นว่า ความตกลง TPP เป็นกลไกสำคัญต่อเป้าหมายการดำเนินยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและนโยบายการค้าสหรัฐฯ และการผ่านความเห็นชอบความตกลงฯ เป็นประเด็นหลักที่ต้องมุ่งเน้นในปี 2559 อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวไม่ได้มีการระบุถึงกรอบระยะเวลาที่แน่ชัดสำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบความตกลงฯ จากรัฐสภาสหรัฐฯ

CRS เผยฝ่ายบริหารสหรัฐฯ สามารถยื่นเสนอร่างกฎหมายบังคับใช้ความตกลง TPP ในวันที่ 14 มีนาคม 2559 เป็นอย่างเร็ว

ในรายงาน International Trade and Finance: Key Policy Issues for the 114th Congress, 2nd Session ของ หน่วยงาน Congressional Research Service (CRS) ที่เสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการสรุปการดำเนินการด้าน นโยบายการค้าและการเงินในช่วงวาระที่ 1 ของการเปิดประชุมรัฐสภาสหรัฐฯ ในสมัยที่ 114 และประเด็นที่จะมีความสำคัญในวาระที่ 2 ของการประชุมฯ ซึ่งหนึ่งในประเด็นดังกล่าว ได้แก่ การพิจารณาผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายบังคับใช้ความตกลง TPP โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า กรอบระยะเวลาที่เร็วที่สุดภายใต้กฎหมาย Trade Promotion Authority (TPA) ที่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ จะสามารถยื่นเสนอร่างกฎหมายบังคับใช้ความตกลง TPP ได้ คือ ในวันที่ 14 มีนาคม 2559

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังคงมีข้อโต้แย้งอยู่มากระหว่างผู้ที่สนับสนุนและคัดค้านความตกลงฯ โดยผู้ที่สนับสนุนเห็นว่า ความตกลงฯ จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและขยายการจ้างงานของสหรัฐฯ จากการค้าและการ ลงทุนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความตกลงฯ ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในประเด็นใหม่ ๆ เช่น การบริหาร จัดการรัฐวิสาหกิจ การเคลื่อนย้ายและคุ้มครองข้อมูลดิจิทอล การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการ พัฒนาความสอดคล้องด้านกฎระเบียบ และที่สำคัญความตกลงฯ ถือเป็นกลไกสำคัญต่อเป้าหมายการดำเนิน ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ใ

นขณะเดียวกัน ผู้ที่คัดค้านความตกลงฯ มีข้อกังวลในเรื่องการสูญเสียการจ้างงานในสหรัฐฯ และการแข่งขันจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหว ทั้งนี้ ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งตลอดระยะเวลาการเจรจา ได้แก่ ข้อจำกัดในการเปิดตลาดสินค้าบางรายการ เช่น รถยนต์ ผลิตภัณฑ์นม และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน การบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการแทรกแซงค่าเงิน ดังนั้น ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบความตกลงฯ รัฐสภาสหรัฐฯ อาจพิจารณาประเด็นดังกล่าวข้างต้นร่วมกับกรอบเป้าหมายการเจรจาที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมาย Bipartisan Congressional Trade Priorities and Accountability Act of 2015 (TPA) ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ผลกระทบเชิงภูมิศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐฯ ในภูมิภาคดังกล่าว และผลกระทบต่อระบบการค้าในกรอบพหุภาค

จัดทำโดย สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน

Share This Post!

53 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top