ข่าวเด่นประจำสัปดาห์จากสหรัฐอเมริกา Thai Trade Center – Chicago

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์จากสหรัฐอเมริกา Thai Trade Center – Chicago

ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานในเดือนมีนาคมสูงสุดในรอบ 8 เดือน

กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 หรือจ านวน 5.7 ล้านต าแหน่ง ซึ่งเป็นจ านวนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ซึ่งอาจจะมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า การเปิดรับสมัคร
งานมีจ านวนเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิต ธุรกิจบริการ ด้านอาชีพ รวมทั้งวิศวกร ที่ปรึกษาการบริหารจัดการ รวมทั้งในส่วนของภาครัฐ
แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานได้ชะลอตัวมีจำนวน 5.3 ล้านคนจาก 5.5 ล้านคนซึ่งชี้ให้เห็นว่า นายจ้างเกิดความลังเลใจในการจ้างงานซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เกิดจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม นอกจากนี้ภาครัฐได้รายงานว่า
การจ้างงานในเดือนเมษายนเป็นไปอย่างเชื่องช้ามีการจ้างงาน 160,000 ต าแหน่ง ลดลงจากตัวเลขเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ 232,000 ต าแหน่งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมาและในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ถือกว่าการจ้างงานยังคงมีความแข็งแรงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีนักซึ่งอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1 ต่อปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม นอกจากนี้ลูกจ้างที่ลาออกจากงานมีตัวเลขเกือบ 3 ล้านคนในเดือนมีนาคมซึ่งตัวเลขการลาออกจากงานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจเพราะโดยทั่วไปลูกจ้างที่ลาออกจากงานเป็นเพราะได้งานใหม่ที่ได้ค่าจ้างมากขึ้นกว่าเดิม
ที่มา: Chicago Tribune วันที่ 11 พฤษภาคม 2559

ปริมาณตู้สินค้านำเข้ายังคงแข็งแกร่ง

จากรายงานประจำเดือน Global Port Tracker โดยสหพันธ์ค้าปลีกสหรัฐฯ และ บริษัท Hackett Associates แจ้งว่า ถึงแม้ร้านค้าปลีกจะนำเข้าสินค้าในปริมาณน้อยลงกว่า ปีที่ผ่านมาแต่ปริมาณการนำเข้าตู้สินค้าที่ผ่านมายังคงมีตัวเลขที่สูง จากตัวเลขตู้สินค้านำเข้าขนาด 20 ฟุตในเดือนมีนาคมล่าสุดมีจำนวน 1.32 ล้านตู้ซึ่งมีปริมาณลดลง 14.2 % จาก เดือนกุมภาพันธ์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปิดโรงงานเพื่อฉลองเทศกาลตรุษจีนที่ ประเทศจีน และลดลง 23.7 % จากที่เคยแตะสูงสุดในเดือนมีนาคม 2558 ปริมาณตู้สินค้านำเข้าในเดือนเมษายนคาดว่าจะมีปริมาณ 1.5 ล้านTEU ลดลง 0.8 % จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เดือนพฤษภาคม คาดว่าจะมีปริมาณ 1.57 ล้านTEU ลดลง 2.7 % จากปีที่ผ่านมา เดือนมิถุนายนมีจำนวน 1.56 ล้านTEU ลดลง 0.8 % เดือน กรกฎาคม 1.61 ล้านTEU ลดลง 0.6 % เดือนสิงหาคม 1.62 ล้านTEU ลดลง 3.7 % และ เดือนกันยายน 1.56 ล้านTEU ลดลง 3.9 % ปีที่ผ่านมาปริมาณการนำเข้าตู้สินค้ามีจำนวน 1.73 ล้านTEUในเดือนมีนาคม 2558 ซึ่งทำลายสถิติเดือนกันยายนในปี 2557 ซึ่งมีจำนวน 1.59 ล้านTEU และในปีนี้คาดการณ์ ปริมาณการนำเข้า จะสูงสุดในเดือนสิงหาคม ในครึ่งปีแรกของปี 2559 คาดว่าปริมาณตู้สินค้านำเข้ามียอดรวม 9 ล้านTEU เพิ่มขึ้น 1.4 % จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วน
ปริมาณยอดรวมทั้งหมดในปี 2558 มีจ านวน 18.2 ล้านTEU เพิ่มขึ้น 5.4 % จากปี 2558
ที่มา: HomeWorldBusiness วันที่ 10 พฤษภาคม 2559

สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร หรือ ไอซีอี กระทรวงความมั่นคงแห่ง

มาตุภูมิสหรัฐฯ รายงานว่า ได้จับและยึดสินค้าน้ำผึ้งกว่า 60 ตัน ซึ่งระบุแหล่งกำเนิดมาจากประเทศเวียดนาม จากการสืบสวนของสำนักงานไอซีอี พบว่า น้ำผึ้งดังกล่าวเป็นสินค้าผลิตในประเทศจีน แต่เป็นการถ่ายลำหรือทรานส์ชิพเมนท์ โดยสำแดงว่าสินค้าผลิตในประเทศเวียดนาม
การกระทำดังกล่าวถือว่า สินค้าจีนมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด เนื่องสหรัฐฯเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากสินค้าน้ำผึ้งจีนอนึ่ง สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าน้ำผึ้งกับประเทศจีนตั้งแต่ปี2544 และเรียกเก็บภาษีในอัตรา 2.63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน จึงไม่มีมูลค่านำเข้าน้ำผึ้งจากจีนมายังสหรัฐฯฝ่ายสืบสวนฯ ระบุว่า ร้อยละ 99 ของน้ำผึ้งที่จับกุมได้ มีความน่าจำเป็นตรงกับน้ำผึ้งที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน ขณะนี้ ฝ่ายสืบสวนกำลังค้นหาแหล่งและบุคคลที่สับเปลี่ยนสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบัน ได้จับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิดในเครือข่ายดังกล่าวแล้ว 9 ราย

ที่มา: Sandler, Travis & Rosenberg Trade Report, May 10, 2016

ข้อคิดเห็น

ปัจจุบัน ผลผลิตน้ำผึ้งของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าความต้องการบริโภค ราคา
ลดลง และจะส่งผลกระทบต่อการลดการนำเข้า ดังนั้น น้ำผึ้งไทยมีอัตราการขยายตัวนำเข้า
ในสหรัฐฯ ในอัตราสูงในช่วงสองปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 339.69 ในปี 2557 และ ร้อยละ 241.4
ปี 2558 อาจจะสะดุดหรือมีมูลค่าลดลงในปีนี้

วุฒิสภาผ่านกฎหมายยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าที่ไม่มีการผลิตในสหรัฐฯ

หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เห็นชอบผ่านกฎหมายยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าที่
ไม่มีการผลิตในสหรัฐฯ หรือ เรียกกฎหมายสั้นๆว่า เอ็มทีบีบิลล์ ด้วยคะแนะแนนสียง 415-2
เมื่อสัปดาห์ผ่านมาแล้ว
วุฒิสภาสหรัฐฯ รับเรื่องต่อพิจารณาและลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ผ่านกฎหมาย
เอ็มทีบีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่าน และคาดว่าประธานาธิบดีโอบาม่าจะลงนามให้มีผล
บังคับใช้ในไม่ช้านี้กฎหมายเอ็มทีบีจะมีอายุบังคับใช้ต่อไปอีก 3 ปีนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม
2559 ไปจนถึงเดือนตุลาคมปี 2562
ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าที่
ต้องการยกเว้นภาษี จะต้องยื่นเรื่องผ่านคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ไอทีซี) ซึ่งเดิม
ต้องผ่านคองเกรส ผู้นำเข้าต้องแจ้งรายละเอียดสินค้าที่นำเข้า และ อุตสาหกรรมที่จะนำไปใช้
และผู้นำเข้ามีเวลาเพียง 60 วันในการดำเนินเรื่องขอยกเว้นภาษีนำเข้า
กฎหมายเอ็มทีบีบิลล์เป็นกฎหมายให้การยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าเป็นการชั่วคราว
ให้แก่สินค้าที่ไม่มีการผลิต หรือหาซื้อไม่ได้ในสหรัฐฯ นอกจากนั้น แล้วยังรวมไปถึงสินค้าที่รัฐ
มีรายได้ภาษีที่เก็บต่ำกว่า 500,000 เหรียญต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบ หรือ
ส่วนประกอบ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
อนึ่ง กฎหมายเอ็มทีบีบิลล์ได้หมดอายุลงไปตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และเพิ่ง
ถูกหยิบยกการต่ออายุในปีนี้ กฎหมายเอ็มทีบีบิลล์จะยกเว้นและลดภาษีนำเข้าชั่วคราวให้แก่
สินค้าวัตถุดิบและส่วนประกอบสินค้าจำนวนไม่ต่ำกว่า 600 รายการ
ที่มา: Sandler, Travis & Rosenberg Trade Report, May 12, 2016

ข้อคิดเห็น

การยกเว้นและลดภาษีนำเข้าตามกฎหมายเอ็มทีบีจะเป็นลู่ทางในการขยายตลาด
สินค้าไทยกลุ่มวัตถุดิบและส่วนประกอบของไทยไปยังสหรัฐฯ ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่สนใจ
ตรวจสอบสินค้าซึ่งส่วนใหญ่จัดอยู่ในพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์หมวดที่ 99

วิวัฒนาการของการรับประทานอาหารในสหรัฐฯ

บริษัทวิจัย เอ็นพีดีกรุ๊ฟ ซึ่งเป็นผู้น าด้านข้อมูลสินค้ารายสำคัญของโลก ได้ทำการวิจัย
เรื่องวิวัฒนาการของการรับประทานอาหารของผู้บริโภค และรายงานว่า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล เบบี้บูมเมอร์ เจนเอ็กซ์ หรือ เจนซีส์ มีความไม่เสมอภาคเมื่อพูดถึงเรื่องเรื่องพฤติกรรม
การรับประทานอาหาร และพบว่า อายุ เชื้อชาติ ช่วงชีวิต และ ค่านิยม มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมการรับประทานอาหารในปัจจุบันและอนาคต
บริษัทฯ พบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารและหมวดหมู่อาหารที่รับประทาน
ของทุกลุ่มผู้บริโภคมีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นับแต่ปี 2527 เป็น
ต้นมา ผู้บริโภคทุกลุ่มความต้องการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มชนิดที่สะดวกและง่ายต่อการ
กิน อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพ หรือสแน๊กค์ ในขณะที่เริ่มห่างเหินการบริโภคอาหารจำาพวกเนื้อ
แดง น้ำตาล อาหารกระป๋อง เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว ยังพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ตรงกันหรือไปกันคนละ
ทางระหว่างกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุและกลุ่มบริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล เบบี้บูมเมอร์ เจนเอ็กซ์
หรือ เจนซีส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มมิลเลนเนียล และ เบบี้บูมเมอร์จะไปคนละทางกับกลุ่ม
สูงอายุ กลุ่มผู้บริโภคมิลเลนเนียลและกลุ่มผู้บริโภคเบบี้บูมเมอร์มักจะสวนทางกัน เช่น กลุ่ม
ผู้บริโภคเบบี้บูมเมอร์มักจะชอบความสะดวกสบายและชอบรับประทานอาหารตาม
ร้านอาหารมากว่ากลุ่มมิลเลนเนียล
การศึกษายังพบว่า พฤติการกิน ได้รับอิทธิพลจากระยะของช่วงชีวิต เช่น กลุ่มมิล
เลนเนียลจะรับประทานอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ไม่
รับประทานอาหารชนิดที่เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภครุ่นก่อนหรือเบบี้บูมเมอร์ และในปริมาณ
ที่น้อยกว่า

ที่มา: The Food Institute Daily, May 11, 2016

เอฟดีเอสหรัฐฯ จะปรับปรุงนิยามในการอ้างสรรพคุณ “เพื่อสุขภาพ”

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นางลอเรน โควิสกี้ โฆษกองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ได้
แจ้งให้กับเอเจนซี่และผู้เกี่ยวข้องว่า ถึงเวลาที่ FDA จะประเมินและทบทวนกฎระเบียบ
ต่างๆที่เกี่ยวกับโภชนาการ รวมถึงความหมายของคำว่า “เพื่อสุขภาพ” หรือ “Healthy”
ใหม่ ในแง่ของการวิจัย ซึ่งหน่วยงานจะเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนในอนาคตอันใกล้นี้
และเมื่อเดือนที่ผ่านมารายงานของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้มีการพิจาราณากฎระเบียบ
เรียกเก็บภาษีจากสินค้าทางการเกษตรซึ่งทางสภาฯ คาดหวังว่า FDA จะมีการแก้ไข
กฎระเบียบค าว่า “Healthy” ให้สอดคล้องกับผลวิเคราะห์และวิจัยตามหลักวิทยาศาตร์
ซึ่งปัจจุบัน FDA สหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้ค าว่า “Healthy” ลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่
แจ้งส่วนผสมและตารางโภชนาการลงบนสินค้า แต่เมื่อปีที่ผ่านมา ทาง FDA ไม่อนุญาติให้ใช้
คำนี้กับ ผู้ผลิตผลไม้และถั่วอัดแท่งเนื่องจากสินค้าตัวนี้มีไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่ในระดับสูงที่ได้มา
จากถั่ว อีกทั้ง FDA ตั้งข้อสังเกตว่าสามารถใช้คำว่า Healthy ลงบนฉลากสินค้าอโวคาโด
และปลาแซลมอน รวมถึงสินค้าพุดดิ้งปราศจากไขมันและซีเรียลชนิดหวาน
ที่มา: www.chicagotribune.com 10 พฤษภาคม 2559

Department of International Trade Promotion, North America , ศ, พ.ค. 13, 2559

by สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

35 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top