ความคืบหน้าในการบังคับใช้กฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement Act (Customs Bill)
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 หน่วยงาน CBP ได้มีคำสั่งระงับการนำเข้า (withhold release order) สำหรับสินค้า จำนวน 2 รายการจากบริษัทผู้ส่งออกจีน 2 ราย ได้แก่ สินค้า soda ash จากบริษัท Tangshan Sanyou และ สินค้า potassium hydroxide/potassium nitrate จากบริษัท Tangshan Sunfar ทั้งนี้
เนื่องจาก CBP พบว่า มี เหตุอันควรเชื่อหรือสงสัยว่าสินค้าดังกล่าวผลิตจากแรงงานนักโทษ (convict labor)
- เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 CBP ได้ประกาศจัดตั้ง Trade Enforcement Task Force พร้อมจัดสรรบุคลากร จำนวน 24 คน ไว้ภายใต้ Trade Enforcement Task Force เพื่อดำเนินงานในส่วนของการไต่สวนกรณีการ นำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานจากการค้ามนุษย์และเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ใน ต่างประเทศอีกจำนวน 9 อัตรา เพื่อรวบรวมข้อมูลและติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานในพื้นที่ประเทศต้นทาง โดยให้เหตุผลสำคัญว่า ในการไต่สวนและพิจารณาการออกค าสั่งระงับการนำเข้านั้น CBP จำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูล จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รวมถึงข้อมูลจาก องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ CBP อาจขอความร่วมมือ เป็นต้น
- CBP อาจพิจารณาดำเนินการเปิดการไต่สวนเอง (self-initiated investigations) โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ได้รับคำ ร้องยื่นฟ้อง (petition) ก่อน ซึ่งเป็นอำนาจของ CBP ที่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้วภายใต้กฎหมาย Tariff Act
- CBP อยู่ระหว่างการปรับแก้กฎระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงาน เด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานจากการค้ามนุษย์รวมถึงกระบวนการในการยื่นคำร้อง รวมถึงหลักเกณฑ์และ กระบวนการในการตรวจสอบและทบทวนคำร้อง ข้อควรระวังและติดตำม การบังคับใช้กฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement Act โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อกำหนดของการห้าม นำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานจากการค้ามนุษย์กำลังได้รับความสนใจและมีการติดตาม อย่างใกล้ชิดจากทั้ง CBP และองค์กร NGOs ต่างๆ ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้สูงที่กรณีการยื่นฟ้องต่อ CBP จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การดำเนินการของ CBP ทั้งในส่วนของการจัดตั้ง Trade Enforcement Task Force การเพิ่มบุคลากร และ การพิจารณาที่จะด าเนินการเปิดการไต่สวนเอง บ่งชี้ได้ถึงท่าทีของ CBP ในการดำเนินการเพื่อติดตามการบังคับใช้กฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement Act ในลักษณะเชิงรุก (proactive) ยิ่งขึ้น ดังนั้น โดยที่ไทยถูกจัดให้อยู่ใน อันดับ Tier 3 ภายใต้รายงาน Trafficking in Person Report (TIP) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และสินค้า กุ้ง ปลา สิ่งทอ และอ้อย ของไทยถูกระบุอยู่ภายใต้บัญชีรายชื่อสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานเด็กและแรงงานถูกบังคับ (List of Goods Produced by Child Labor or Force Labor) ของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ อาจท าให้กลุ่มสินค้าดังกล่าวมีความ เสี่ยงสูงต่อการถูกยื่นฟ้องและไต่สวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรมีการตรวจสอบกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน อย่างเข้มงวดว่าปราศจากการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานจากการค้ามนุษย์เพื่อป้องกันการถูกยื่นฟ้อง
Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy in Washington, DC, จ, พ.ค. 16, 2559
by OFFICE OF COMMERCIAL AFFAIRS, WASHINGTON, DC