บทวิเคราะห์ TPP ของสหรัฐฯ เมษายน 2559
๑. สถานะการให้สัตยาบัน / ความคืบหน้าในการดำเนินการเพี่อให้ความตกลง TPP มีผลบังคับใช้
๑.๑ ขั้นตอนภายหลังจากที่สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศภาคีได้ร่วมลงนามความตกลง TPP ที่ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อ ๔ ก.พ. ๕๙ ที่ผ่านมา U.S. Trade Representative ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายภายในสหรัฐฯ ต่อรัฐสภาฯ ในวันที่ ๑ เม.ย. ๕๙ และ U.S. International Trade Commission (USITC) องค์กรอิสระทำหน้าที่สืบสวนด้านการค้า ต้องจัดส่งรายงานข้อคิดเห็นผลกระทบของ TPP ต่อสหรัฐฯ เพื่อการจัดทำร่าง กม. เพื่อใช้บังคับ TPP โดยหลังจากนั้นภายใน ๓๐ วัน คณะกรรมาธิการการเงินการคลัง สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และคณะกรรมาธิการการคลัง วุฒิสภาสหรัฐฯ จะพิจารณาเสนอเข้าสู่วาระการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน ๙๐ วันทำการของสภานิติบัญญัติ (Legislative day) ในการลงมติเห็นชอบ จากนั้นประธานาธิบดีจึงจะสามารถลงนามในร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป
๑.๒ ล่าสุด ประธานาธิบดี Obama คาดหวังว่า จะสามารถลงนามในร่างกฎหมายได้เร็วที่สุดในช่วงหลังการสิ้นสุดการเลือกตั้ง Primaries หรือประมาณหลังกลางเดือน ก.ค. ๕๙ ในขณะที่หลายฝ่ายยังคงคาดการณ์ว่า หากจะมีการลงนามดังกล่าวก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วง lame-duck session ภายหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย. ๕๙
๒. ท่าทีต่อประเทศที่ประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP เพิ่มเติม
๒.๑ สหรัฐฯ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนประเทศสมาชิกใหม่ที่ต้องการเข้าร่วมกลุ่ม TPP โดยแนะว่า ให้ประเทศสมาชิกใหม่เริ่มศึกษาข้อกำหนดภายใต้ความตกลงอย่างถี่ถ้วน เพื่อเตรียมการปรับกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้อง และแจ้งความประสงค์กับทั้ง ๑๒ ประเทศสมาชิกเป็นรายประเทศ และเพื่อแก้ไขประเด็นอ่อนไหวระหว่างประเทศ
๒.๒ สหรัฐฯ มองว่า การปฏิบัติตามข้อกำหนดภายใต้ คตล. TPP ของกลุ่มประเทศสมาชิก และประเทศที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มในอนาคต จะเป็นการยกระดับมาตรฐานทางการค้าและการลงทุนในระดับภูมิภาค และยังช่วยเพิ่มโอกาส และศักยภาพทางการแข่งขันให้แต่ละประเทศสมาชิกอีกด้วย
๒.๓ เมื่อ ๒๐ เม.ย. ๕๙ USTR แจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะ ระหว่างการเข้าร่วมประชุม TIFA JC ไทย – สหรัฐฯ และจัด session ให้ข้อมูล/ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ TPP ให้แก่คณะผู้แทนไทย โดยสหรัฐฯ พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ หากประเทศไทยต้องการเข้าร่วม TPP ในอนาคต และยินดีจัด teleconference ระหว่างผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านภายใต้ความตกลงกับฝ่ายไทย เพื่อตอบข้อซักถามเกี่ยวกับประเด็นที่ฝ่ายไทยต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
๓. ผลประโยชน์ / ผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ เข้าเป็นสมาชิกความตกลง TPP
๓.๑ ผลประโยชน์ – TPP เป็นหนึ่งในนโยบายการสร้างสมดุลทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคแปซิฟิค โดยนอกจาก TPP จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจและการขยายตลาดส่งออกให้กับสหรัฐฯ แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ไปยังประเทศพันธมิตร และ คู่ค้าของประเทศสมาชิก – TPP จะช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้ธุรกิจรายย่อยสหรัฐฯ มีโอกาสทางการค้ามากขึ้น โดย TPP จะยกเลิกภาษีส่งออกสินค้าและบริการที่ผลิตภายในสหรัฐฯ มากกว่า ๑๘,๐๐๐ รายการ และช่วยเพิ่มการจ้างงานในสหรัฐฯ จากผลการศึกษาของ Peterson Institute คาดว่า TPP จะช่วยสร้างงานเพิ่ม ๗๐๐,๐๐๐ งาน ภายในปี ๒๕๖๘ และจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ ๑๓๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๕ ของ GDP รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๑ คิดเป็นมูลค่าปีละ ๓๕๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ – TPP จะช่วยส่งเสริมให้นักธุรกิจสหรัฐฯ แข่งขันในภูมิภาคได้อย่างเท่าเทียม ภายใต้ข้อกำหนด State-Owned Enterprises (SOEs) การสร้างมาตรฐานสูงทำให้สหรัฐฯ สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า การสร้างโอกาสให้เกิดเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อให้ผู้ประกอบการสหรัฐฯ สามารถใช้ประโยชน์จาก e-commerce อย่างกว้างขวาง – TPP ช่วยเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้สหรัฐฯ อย่างมาก โดยเฉพาะใน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม นิวซีแลนด์ และบรูไน โดย American Farm Bureau Federation จัดทำการศึกษาคาดว่า รายได้ภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วม TPP กว่า ๕.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยเฉพาะในสินค้า ข้าว ฝ้าย เนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์ปีก เนยแข็ง ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ นมผงแบบไร้ไขมัน – ผลประโยชน์ด้านเกษตรกรรม จากการเข้าร่วม TPP ของสหรัฐฯ จัดทำโดย U.S. Department of Agriculture สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fas.usda.gov/tpp-benefits-us-agricultural-products – ผลประโยชน์จากการเข้าร่วม TPP ของสหรัฐฯ จัดทำโดย U.S. Trade Representativeสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://ustr.gov/trade-agreements/free-trade-agreements/trans-pacific-pa…
๓.๒ ผลกระทบ – หลายฝ่ายในสหรัฐฯ แสดงความกังวลเรื่องข้อกำหนดภายใต้ TPP ที่อนุญาตให้มีการคุ้มครองสิทธิบัตรยาเป็นเวลาเพียง ๕ – ๘ ปี ซึ่งน้อยกว่า ๑๒ ปีตามกฎหมายของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตยาขาดแรงจูงใจในการพัฒนายาใหม่ๆ ที่มีต้นทุนสูง – TPP กำหนดให้แต่ละประเทศสมาชิกสามารถตั้งกฎควบคุมยาสูบเองได้ เนื่องจากถือเป็นการคุ้มครองสุขภาพ ส่งผลให้ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยาสูบไม่สามารถได้รับการคุ้มครองภายใต้ข้อกำหนด Investor-State Dispute Settlement (ISDS) – กลุ่มแรงงานใน สหรัฐฯ กล่าวว่า การเข้าร่วม TPP ของสหรัฐฯ จะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทสหรัฐฯ ในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะสามารถเสนอการจ้างแรงงานในต้นทุนที่ต่ำกว่าการจ้างแรงงานภายในสหรัฐฯ ส่งผลให้ สหรัฐฯ สูญเสียการจ้างงานภายในประเทศในที่สุด – ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเข้าร่วม TPP ของสหรัฐฯ จัดทำโดย Global Development and Environment Institute at Tufts University สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ase.tufts.edu/gdae/policy_research/TPP_simulations.html
๔. การดำเนินการเพื่อรับมือ / บรรเทาผลกระทบ
๔.๑ รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการลงทุน (Foreign Direct Investment) จากบริษัทในประเทศกลุ่มสมาชิก TPP ภายใต้โครงการ SelectUSA ซึ่งดำเนินการลักษณะเดียวกับ BOI ของไทย แต่สิทธิประโยชน์ต่างกันไปตามแต่ละมลรัฐ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://trade.gov/fta/tpp/foreign-direct-investment-tpp.asp
๔.๒ U.S. International Trade Commission (USITC) ได้จัด public hearing เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็น และผลกระทบต่อการเข้าร่วมความตกลง TPP ของสหรัฐฯ จากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น โดย USITC จะต้องจัดทำรายงานเสนอแก่ประธานาธิบดีและรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อประกอบการพิจารณา และเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบันภายในประเทศต่อไป
๕. ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ
๕.๑ ข้อมูลทางเศรษฐกิจรายประเทศกลุ่มสมาชิก และข้อมูลของสหรัฐฯ รายมลรัฐ และรายอุตสาหกรรม จัดทำโดย International Trade Admiration, U.S. Department of Commerce – อ่านได้ที่ http://trade.gov/fta/tpp/index.asp
๕.๒ ฟิลิปปินส์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่แสดงเจตจำนงเข้าร่วม TPP และอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม TPP โดยพบหารือทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชนสหรัฐฯ ได้จัดคณะผู้แทนเยือนสหรัฐฯ หารือกับ USTR อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ร่วมกับ สภาหอการค้าสหรัฐฯ จัดทำการศึกษาข้อดีข้อเสีย และการปรับตัวเพื่อเข้าร่วม TPP รายละเอียด https://www.uschamber.com/event/the-philippines-and-tpp-opportunities-an…