ธุรกิจร้านอาหารในสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย

ธุรกิจร้านอาหารในสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย

Photo Credit: http://borgenproject.org/steak-dinner-cost-comparison/

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ฝ่ายบริการการลงทุนของบริษัทมูดีส์ได้ลดการคาดการณ์การขยายตัว ผลกำไรของธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหารในช่วง 12 -18 เดือนข้างหน้านี้ จากร้อยละ 5-6 ลดลงเหลือร้อยละ 2-4 ในขณะที่ธุรกิจร้านอาหารต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทางด้าน ค่าแรงงาน ค่าอาหาร รวมทั้งต้องเผชิญกับความท้าทายต่อความนิยมของลูกค้าที่จะเข้ามา รับประทานอาหารที่ร้าน ทางด้านผู้บริโภคก็เผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งเช่าบ้าน ค่ายารักษา ค่าเช่ารถ ฯลฯ จึงมีจำนวนมากขึ้นที่เลือกซื้ออาหารตามซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อไป รับประทานที่บ้าน

จากรายงานผลกำไรของร้านอาหารไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Sonic Corp, Burger King, Chipotle Mexican Grill Inc. มีผลกำไรลดลง ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ได้เคยเตือนว่า ยุคภาวะถดถอยของภัตตาคาร ร้านอาหารได้มาถึงแล้วและจะมีความยากลำบากมากขึ้นอีก แม้แต่ร้าน Buffalo Wild Wings Inc. ได้แจ้งว่าผลกำไรของร้านได้รับผลกระทบจากราคา ปีกไก่ที่มีราคาสูงขึ้นรวมทั้งผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแมททิวในรัฐนอร์แคโรไลนาและ เซาท์แคโรไลนาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนในตลาดหุ้น บริษัทด้านการเงินอย่าง Stifel ได้ดาวน์เกรดหุ้นของร้านอาหารจำนวน 11 ร้าน

ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคไม่หันไปรับประทานอาหารนอกบ้าน คือ ความกดดัน ของรายได้ที่ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่ายา รักษาโรค ค่าเล่าเรียน และ ค่าอาหารที่รับประทานนอกบ้าน จึงหันไปซื้ออาหารกึ่งปรุง หรือ ปรุงสำเร็จจากซุปเปอร์มาเก็ตไปรับประทานที่บ้านซึ่งถูกกว่าและประหยัดกว่า

ดังนั้นการแข่งขันของซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร ต่างจึงมีโปรโมชั่นเพื่อดึงดูด ลูกค้า ร้านอาหารได้หันไปใช้สื่อมีเดียและแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือเพื่อจะเข้าถึง ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials และโปรแกรมส่วนลดต่างๆ ซึ่งก็มีผลกระทบต่อผลกำไรลดลง บริษัทมูดีส์คาดการณ์ว่า ร้านอาหารประเภท Casual-Dining อย่าง Olive Garden, Cheesecake Factory จะเจ็บตัวมากที่สุด ในขณะที่ร้านอาหารประเภท Fast Food อย่าง Shake Shack, Chitpotle, McDonald’s และ Wendy’s จะไปได้ด้วยดี


ปัจจุบัน ในกลุ่มร้านอาหารเอเซียนแบบ Asian Fusion ได้รับความนิยมสูงจาก ผู้บริโภคในสหรัฐฯ และมีจำนวนร้านอาหารแบบนี้ขยายตัวในอัตราสูง ในขณะที่ร้านอาหาร เอเชี่ยนแบบดั้งเดิม รวมทั้งร้านอาหารไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ด้วยเหตุผล ในระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา ร้านอาหารเอเชียแบบดั้งเดิมได้รับความนิยมบริโภคสูงจากกลุ่ม Baby Boomer ปัจจุบันผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว เข้าสู่วัยสูงอายุ เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และ ทำอาหารด้วยตัวเองที่บ้าน หรือ ทานอาหารอเมริกันซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื่องจากผู้บริโภค มีรายได้ลดลง จึงส่งผลต่อการรับประทานเอเชียนแบบดั้งเดิม ในขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มใหม่คือ Gen X-Y-Z หรือ กลุ่ม Millennial ให้ความสนใจอาหารเอเชียแบบ Asian Fusion เนื่องจากต้องการความหลากหลายรสชาติ ดังนั้น ร้านอาหารเอเชียที่ขยายตัวสูงในปัจจุบัน จึงเป็นร้านอาหารเอเชี่ยนลูกผสม เช่น Korean Fusion, Japanese Fusion, Thai Fusion เป็นต้น และนักลงทุนเอเชี่ยน-อเมริกันรวมถึงคนไทย จึงหันไปไปเปิดกิจการร้านอาหารแบบ Fusion แทนร้านแบบดั้งเดิม

เทรนด์ของร้านอาหารในสหรัฐฯ ในปัจจุบัน อาจจจะส่งผลกระทบต่อการผลักดัน โครงการครัวไทยสู่ครัวโลกในสหรัฐฯ เพราะว่า ปัจจุบัน ร้านอาหารไทยหลายแห่งให้ ความเห็นว่า ร้านอาหารไทยแบบดั้งเดิม ได้เติบโตถึงจุดสูงสุดแล้ว และขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง ร้านอาหารไทยในเมืองใหญ่หลายแห่งต้องปิดกิจการ เนื่องจาก ต้นทุนดำเนินการสูง รายได้ ลดลง และ การแข่งขันสูง และ ร้านอาหารไทยที่เปิดขึ้นใหม่ จะเป็นรูปแบบปรับตัวตาม ความต้องการของตลาด แม้ว่าตัวร้านจะตกแต่งเป็นแบบไทย แต่ประเภทอาหารจะ หลากหลายชาติ รูปแบบนำเสนอและรสชาติอาหารจะปรับเปลี่ยนตามกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้น เทรนด์ร้านอาหารในสหรัฐฯ อาจจะเป็นอุปสรรคในการผลักดันการเพิ่มจำนวนร้านอาหาร ไทยหรือชักนำให้นำเสนออาหารไทยรสชาติไทยแท้

ขอบขอบคุณข่าวจาก: สํานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร ชิคาโก

Share This Post!

133 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top