ส่งออกมั่นใจมะกันติดหนึบอาหารไทย

ส่งออกมั่นใจมะกันติดหนึบอาหารไทย

photo credit: http://www.worldipreview.com/news/ap-and-meltwater-shake-hands-in-copyright-dispute

ส่งออกอาหารไทยจับตานโยบาย “ทรัมป์” ลดภาษีดึงทุนสหรัฐฯ กลับสร้างงานในประเทศกระทบสินค้าจากไทยหรือไม่สถาบันอาหารเชื่อแบรนด์อาหารไทยตรึงใจคนมะกัน ถ้าไม่สั่งห้ามไม่กระทบ ทูตไทยประจำสหรัฐฯ หนุนทุนไทยบุกลงทุนแก้ลำ ซีพีเอฟทุ่ม 3.8 หมื่นล้านซื้อ Bellisio ยักษ์อาหารเบอร์ 3 มะกันทันควัน นโยบายในการหาเสียงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะลดภาษีนิติบุคคล จากสูงสุดที่ 35% เหลือ 15% เพื่อจูงใจผู้ประกอบการสหรัฐฯ กลับมาลงทุนสร้างงานในประเทศ ซึ่งหากทำจริงหลังเข้าดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่อาจส่งผลให้ลดการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าสหรัฐฯได้นั้น

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารส าเร็จรูป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทางสมาคมได้ ติดตามอย่างใกล้ชิด ต่อนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศของทรัมป์ ว่าก่อนและหลังการเข้ารับตำแหน่งจะ เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และจะส่งผลกระทบกับผู้ส่งออกของไทยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ส่งออกสินค้า อาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปตลาดสหรัฐฯ โดยมียอดส่งออกอาหารเข้าสหรัฐฯ ในปี 2558 เป็นมูลค่า 1.07 แสนล้านบาท จากยอดส่งออกอาหารไทยไปทั่วโลก 9.43 แสนล้านบาท “หากทรัมป์มีนโยบายอะไรที่ออกมาอย่างชัดเจนและมีผลกระทบ การส่งออกสินค้าอาหารของเราคง ลดลงจากเดิมที่เคยส่งออกไม่น่าเกิน 10% แต่อีกด้านหนึ่งสหรัฐฯ ก็มีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารมาไทย ในปีที่ผ่านมามูลค่ารวมประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท โดยสินค้าสำคัญที่เขาส่งออกมาไทยได้แก่ ถั่วเหลือง กาก น้ำมัน และกากอื่นๆ ที่ได้จากการ สกัดน้ำมันถั่วเหลือง ข้าวสาลี อาหารทะเล นมและผลิตภัณฑ์นม จะเห็นว่า สินค้าของเขากับของเราเป็นสินค้าที่ไม่ใช่คู่แข่งกัน แต่เป็นสินค้าที่เอื้อและแลกเปลี่ยนกัน ดังนั้นหากมีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องมีการเจรจากันอยู่แล้ว”

ด้านนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า หากทรัมป์มีนโยบายและได้รับการ ตอบสนองจากนักลงทุนสหรัฐฯ ในการผลิตสินค้าอาหาร หรือสินค้าอื่นๆ ทดแทนการนำเข้าคงต้องใช้เวลา ขณะที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่เคยบริโภคสินค้าอาหารจากไทยที่มีคุณภาพ และยึดติดแบรนด์แล้ว ทรัมป์จะไปห้าม บริโภคของนอกก็คงไม่ได้ ขณะที่ช่วงปลายปีนี้ทั่วโลกและชาวอเมริกันก็มีเทศกาลรื่นเริง ทั้งวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) คริสต์มาส ปีใหม่ การนำเข้าอาหารจะมากเป็นพิเศษ

สรุปก็คือ หากทรัมป์ไม่มีนโยบาย ห้ามนำเข้าหรือห้ามบริโภคของนอก ซึ่งจะถูกต่อต้านก็จะไม่กระทบไทยมาก ขณะที่นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ทรัมป์ยังไม่ได้รับ ตำแหน่งและประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการ จึงยังไม่ทราบว่าจะออกมาอย่างไร ผู้ประกอบการของไทยคง ต้องรอติดตาม และพร้อมปรับตัวกับนโยบายที่จะออกมา อย่างไรก็ดีในหลักการสินค้าที่มีดีมานต์มากกว่าซัพ พลายในสหรัฐฯ ยังจำเป็นต้องนำเข้า

ส่วนนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา กล่าวแนะนำว่าผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพควรเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ เพราะนอกจากจะได้ ตลาดในประเทศของสหรัฐฯ โดยไม่ถูกกีดกันแล้ว ยังได้รับการต้อนรับ และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครัฐและนักการเมืองในแต่ละมลรัฐ ทั้งในเรื่องภาษีต่างๆ การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคนงาน โดย นักการเมืองเหล่านี้สามารถนำผลงานไปหาเสียงได้ว่า ในการลงทุนครั้งนี้ช่วยเพิ่มการจ้างงานได้เท่าไร นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังจะได้อำนาจทางการเมืองที่ไปกับการลงทุน เพราะจะสามารถไปเข้าพบผู้ว่าการรัฐ วุฒิสมาชิก ส.ส. ประจำเขต หรือประจำรัฐ และขอการสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นช่วยขยายผลประโยชน์ หรือช่วยแก้ปัญหา อุปสรรคที่เกิดจากการลงทุนได้ และนักการเมืองเหล่านี้ยังสามารถหยิบยกปัญหาไปนำเสนอต่อผู้แทนการค้า สหรัฐฯ หรือยูเอสทีอาร์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของนักลงทุนต่างชาติในระดับประเทศได้

ด้านนายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจริญโภค ภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า การเข้าซื้อบริษัท Bellisio Parent, LLC (“Bellisio Foods”) โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,075 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 38,161 ล้านบาท) เป็นการเข้าไปสู่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีโอกาสในการขยายธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อง การผสมผสาน จุดแข็งของซีพีเอฟและกลุ่ม Bellisio จะสามารถท าให้มีการผลิตสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้า อาหารเอเชีย ให้กับช่องทางจำหน่ายและเครือข่ายของทั้ง 2 กลุ่ม ทำให้มีโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ธุรกิจทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและส่งออกไปทั่วโลก “การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของซีพีเอฟ ที่ต้องการขยายธุรกิจอาหารไปยังตลาดที่มี ศักยภาพ หลังจากซื้อเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้สัดส่วนของธุรกิจอาหารของซีพีเอฟเพิ่มขึ้น” นายอดิเรกกล่าว กลุ่ม Bellisio เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2533 โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย อาหาร แช่แข็งพร้อมรับประทานแบบ Single Serve ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดสูงเป็นลำดับที่ 3 (คำนวณจากปริมาณจำหน่าย) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ตราสินค้าซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Michelina’s Chilli’s Boston Market และ Atkins เป็นต้น รวมถึงอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งมีจุดเด่นด้านคุณภาพและโภชนาการ ภายใต้ ตราสินค้า EatingWell และ EAT! ซึ่งกลุ่ม Bellisio เริ่มวางจำหน่ายเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ กลุ่ม Bellisio ยังเป็นผู้นำในตลาดอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานแบบ Single Serve ในประเทศแคนาดาอีกด้วย

ปัจจุบัน กลุ่ม Bellisio มีโรงงานรวมทั้งสิ้น 4 โรงงาน ตั้งอยู่ในรัฐ Ohio รัฐ California และรัฐ Minnesota นอกจากนั้น กลุ่ม Bellisio ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ค้าปลีกชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มี ช่องทางร้านจัดจำหน่ายถึงกว่า 5 หมื่นแห่ง Joel Conner ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ กลุ่ม Bellisio เปิดเผยว่า “เราขอขอบคุณ Centre Partner ผู้ถือหุ้นเดิมส าหรับการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาและเรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มซีพีเอฟ ซึ่งเราคิดว่าการ ทำงานร่วมกันจะผลักดันการเจริญเติบโตของ Bellisio ได้เป็นอย่างดีในอนาคต”

ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3211 วันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2559 หน้า 15

Share This Post!

32 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top