รายงานข้อมูลคาดการณ์การผลิตข้าวของสหรัฐฯ ในปี 2560/2561

รายงานข้อมูลคาดการณ์การผลิตข้าวของสหรัฐฯ ในปี 2560/2561

Photo Credit: ไทยรัฐออนไลน์

ด้วย กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ จัดทำรายงานคาดการณ์ผลผลิตเกษตรระยะยาวเบื้องต้น ของสหรัฐฯ ในระหว่างปี2560-2561 (U.S.D.A. Agricultural Projections to 2026) ครอบคลุมถึง สินค้าเกษตรกรรมสำคัญของสหรัฐฯ จำนวน 8 รายการ คือ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย น้ำตาล ข้าวเปลือก ปศุสัตว์ และ นมเนย ซึ่งได้เปิดเผยเมื่อต้นเดือนพฤศจิกำยน 2559 ที่ผ่านมา ในการนี้ สคต.ชิคาโก ใคร่ขอรายงานข้อมูลข้าวเฉพาะในส่วนการคาดการณ์การผลิต ข้าวเปลือกของสหรัฐฯ ของฤดูการผลิตปี 2560/2561 และสรุปได้ดังต่อไปนี้ การคาดการณ์

1. คาดว่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวมีประมาณ 6.75 ล้านไร่ ลดลงไป ร้อยละ 18.46 จากปี ผ่านมา และจะเก็บเกี่ยวได้คิดเป็นจำนวน 6.70 ล้านไร่ ลดลงไปร้อยละ 14.10 และผลิตข้าวได้ประมาณ 1,401.13 กิโลกรัม/ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85

2. คาดว่าสหรัฐฯ มีปริมาณข้าวประมาณ 14.73 ล้านต้นในปี2561 โดยแยกออกเป็น (1) ผลผลิตข้าวในประเทศ 10.48 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 12.15 ข้าวนำเข้าจากต่างประเทศ 1.22 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อย 2.52 และ (3) สต๊อกข้าวของปีที่ผ่านมา 3.03 ล้านตัน

3. สหรัฐฯ จะบริโภคประมาณ 12.16 ล้านตัน แยกเป็น การบริโภคในประเทศ 6.55 ล้านตัน ลดลงไปร้อยละ 3.10 และส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 5.61 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.40 และมี สต๊อกข้าวยกไปปีต่อไป 2.57 ล้านตัน

4. ต้นทุนการปลูกข้าวของสหรัฐฯ คิดเป็น 222.6 เหรียญสหรัฐฯ/ไร่ และได้รับ ผลตอบแทนสุทธิคิดเป็น 103.65 เหรียญสหรัฐฯ/ไร่

ข้อคิดเห็น

1. ชาวนาสหรัฐฯ ได้รับข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มข้าวที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้จากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ สามารถนำไปวางแผนในการเพาะปลูกเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในเรื่อง อุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นผลดีต่อชาวนา จะเห็นได้จาก สต๊อกข้าวปี 2559 มีจำนวนสูง 3.03 ล้านต้น ผนวกกับสถานการณ์ชะลอตัวของความต้องการในตลาดโลก ชาวนาสหรัฐฯ จะลดพื้นที่การปลูกข้าวของ สหรัฐฯ ในปี 2560 หรือลดลงไปกว่าหนึ่งล้านไร่ นอกจากนั้น คาดการณ์ดินฟ้าอากาศจะเป็นปัจจัยเสริม ดังนั้น ผลผลิตต่อไร่ (Yield per Rai) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 จึงช่วยค้ำจุนให้ปริมาณผลผลิตในประเทศให้ เกิดความเหมาะสมระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

2. ในขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวรวมของสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 3.1 แต่ความ ต้องการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศกลับเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.52 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่ไทยเป็นแหล่ง นำเข้าข้าวสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ จึงแสดงให้เห็นว่า ความต้องการนำเข้าข้าวจากไทยจะต้องเพิ่มขึ้น

3. ปัจจุบัน ตลาดส่งออกข้าวสำคัญของสหรัฐฯ คือ ลาตินอเมริกา ตลาดส่งออกอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี และ ตะวันออกกลาง ซึ่งไม่แข่งขันกับไทยโดยตรง เม็กซิโกเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ที่สุดหรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของสหรัฐฯ และข้าวสหรัฐฯ ไม่ต้องชำระภาษีนำเข้าภายใต้ข้อตกลงการค้า เสรี NAFTA ในขณะที่ข้าวไทยนำเข้ามายังเม็กซิโกเสียภาษีศุลกรร้อยละ 20 ประธานาธิบดี ทรัมป์ มีความ ต้องการปรับข้อตกลงการค้าเสรีNAFTA ซึ่งสหรัฐฯ เสียเปรียบเม็กซิโก ดังนั้น หากเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงในเรื่องภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโก อาจจะเป็นโอกาสของข้าวไทยสามารถเข้าไปแข่งขันกับข้าวสหรัฐฯ ในตลาเม็กซิโกได้มากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

Share This Post!

337 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top