สหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานจากการค้าระหว่างประเทศหรือเครื่องจักรในการผลิตกันแน่

สหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานจากการค้าระหว่างประเทศหรือเครื่องจักรในการผลิตกันแน่

Photo Credit: University of Pittsburgh

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Mr. Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้พรรณนาต่างๆ ว่า ประเทศเม็กซิโก ประเทศจีน และการค้าระหว่างประเทศ เป็นภัยคุกคามการจ้างงานของอุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ ส่งผลให้ประชากรสหรัฐฯ ตกงานและไม่มีงานทำเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อตกลงทาง การค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ที่ Mr. Trump กล่าวว่า เป็นการทำการค้าเพื่อผลประโยชน์ฝ่ายเดียว (oneside deal) โดยบริษัทสหรัฐฯ ย้ายโรงงานไปผลิตในประเทศสมาชิกและส่งกลับมายังสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ เสีย ดุลการค้าเพิ่มมากขึ้น

Mr. Barack Obama กล่าวในงานเลี้ยงอำลาว่า ในอนาคตภาวะด้านการเคลื่อนที่ด้านเศรษฐกิจ (economic dislocation) จะไม่ได้รับผลกระทบจากต่างประเทศ แต่จะเกิดขึ้นจากการนำเครื่องจักรมาใช้แทน แรงงานชนชั้นกลางในการผลิตสินค้า ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ ส่วนใหญ่หันไปใช้หุ่นยนต์หรือ เครื่องจักรที่มีความทันสมัยและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในสายการผลิต เทียบแล้วสหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานให้กับการ ใช้เครื่องจักรมากกว่าสินค้านำเข้าและการค้าระหว่างประเทศกับประเทศจีน เม็กซิโก และประเทศอื่นๆ เสียอีก

ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานไปเนื่องจากการนำเข้าและการค้าระหว่างประเทศ แต่หุ่นยนต์ และเครื่องจักรได้คุกคามและเข้าทำงานแทนสายการผลิตแบบเดิม ปัจจุบันจำนวนตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการ ผลิตสหรัฐฯ มีน้อยกว่าปี 2543 ถึงกว่า 5 ล้านตำแหน่ง

Mr. David Autor อาจารย์มหาวิทยาลัย MIT กล่าวว่า ระหว่างปี 2542 – 2554 การค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับประเทศจีนส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตสหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานไปประมาณ 985,000 ตำแหน่ง และ Mr. Robert Scott นักเศรษฐศาสตร์ หน่วยงาน Economic Policy Institute กล่าวว่า ระหว่างปี 2540 – 2556 การค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศเม็กซิโกส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตสหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานไปประมาณ 800,000 ตำแหน่ง ซึ่งตัวเลขอาจจะสูง แต่ในปี 2559 สหรัฐฯ จ้างงานมากกว่าจำนวนดังกล่าวรวมกันเสียอีก นอกจากนี้ ผลการวิจัยรายงานว่า การใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรในการผลิตส่งผลกระทบต่อแรงงานสหรัฐฯ มากกว่าปัจจัยอื่น

ผลการวิเคราะห์จากมหาวิทยาลัย Ball State University พบว่าระหว่างปี 2543 – 2553 สหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานร้อยละ 87 เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสหรัฐฯ เปลี่ยนจากโรงงานธรรมดามาเป็น โรงงานที่ใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรที่มีความทันสมัยในการผลิตแทนการใช้แรงงาน และอีกร้อยละ 13 ผลกระทบ จากการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันโรงงานผลิตรถยนต์สามารถผลิตรถยนต์ออกมาในจำนวนเท่ากับปี 2543 โดย ใช้จำนวนแรงงานเพียงไม่กี่คน Mr. Bradfor Jensen อาจารย์สอนด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Georgetown University กล่าวว่า นี่แหละคือหลักฐานชิ้นสำคัญ อุตสาหกรรมผลิตสหรัฐฯ ศูนย์เสียแรงงานหลักๆ แล้วไม่ใช่ เพราะการค้าระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ ปรับเปลี่ยน โครงสร้างการผลิตให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยหันมาใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรแทนแรงงานคนเพื่อลดการ ผิดพลาดในการออกแบบและผลิตสินค้า

ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า เป็นการยากที่จะสรุปจำนวนแรงงานสหรัฐฯ ที่ศูนย์เสียไปหลังจากโรงงานนำหุ่นยนต์และเครื่องจักรมาทำการผลิตสินค้าเนื่องจากหุ่นยนต์และเครื่องจักรมีส่วนช่วยสร้างงานให้กับชาวสหรัฐฯ อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน Mr. Daroon Acemoglu อาจารย์ มหาวิทยาลัย MIT ได้ยกตัวอย่าง เครื่อง ATM ที่ทำหน้าที่แทนพนักงานรับฝาก-ถอนเงินธนาคาร ส่งผลให้พนักงานธนาคารฯ ได้รับมอบหมายให้ทำงานที่มีความซับซ้อน มากกว่าเครื่อง ATM ซึ่งก็หมายความว่า แรงงานสหรัฐฯ ต้องมีสามารถที่จะทำงานที่มีความซับซ้อนและยากเกินกว่า ที่หุ่นยนต์และเครื่องจักรจะสามารถทำได้ถึงจะสามารถควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรได้ นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 อุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ เปิดรับพนักงานมากกว่า 324,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าก่อนยุคเศรษฐกิจถดถ่อยในปี 2550 โดยตำแหน่งที่เปิดรับนี้เป็นตำแหน่ง สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการควบคุมหุ่นยนต์และเครื่องจักรในโรงงาน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์สรุปว่าหุ่นยนต์และ เครื่องจักรมีส่วนช่วยในการสร้างงานให้กับชาวสหรัฐฯ แต่นอกเหนือจากสายการผลิต

อย่างไรก็ตาม Mr. Trump มีความต้องการที่จะนำฐานการผลิตกลับมายังสหรัฐฯ ซึ่งสามารถทำ ได้ แต่การกลับมาของบริษัทเหล่านี้จะกลับมาในรูปแบบของการผลิตสินค้าโดยใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรในการ ผลิต ไม่ได้ใช้แรงงานจำนวนมากเหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว

บทวิเคราะห์ Mr. Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ มีความพยายามอย่างมากในการ รักษาอุตสาหกรรมการผลิตเอาไว้ในสหรัฐฯ เพื่อรักษางานให้กับชาวอเมริกันและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยได้เข้าแทรกแซงกิจการบริษัทสหรัฐฯ โดยใช้มาตรการทางภาษีจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศใน อัตราสูงหรือร้อยละ 35 ทำให้บริษัทสหรัฐฯ หลายบริษัทต้องยกเลิกแผนการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ Mr. Trump ได้กล่าวว่า ประเทศเม็กซิโก ประเทศจีน และการค้าระหว่างประเทศ เป็นภัยคุกคามการจ้างงานของอุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ ส่งผลให้ประชากรสหรัฐฯ ตกงาน

ปัจจุบันโลกของเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมาก อุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ ได้ปรับปรุง โรงงานของตนให้มีศักยภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้น โดยการนำหุ่นยนต์และเครื่องจักรมาใช้ในโรงงานและ สายการผลิต เนื่องจากการผลิตสินค้าจากหุ่นยนต์และเครื่องจักรสามารถช่วยกำจัดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากมนุษย์ และสามารถดำเนินการผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน โดยใช้แรงงานที่น้อยกว่าเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งบริษัทสหรัฐฯ บางบริษัทเลือกที่จะใช้สิทธิทางการค้าโดยการย้ายฐานการผลิตไปตั้งอยู่ในประเทศคู่ค้าซึ่งมีอัตรา ค่าแรงที่ต่ำกว่าสหรัฐฯ หลายเท่าตัว

หลังจากการขู่ใช้มาตรการทางภาษีจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในอัตราร้อยละ 35 ทำให้บริษัทสหรัฐฯ หลายบริษัทหันกลับมาทำการลงทุนในสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งคาดว่าการลงทุนเพิ่มของบริษัท สหรัฐฯ ครั้งนี้เป็นการลงทุนขยายโรงงานโดยการเพิ่มหุ่นยนต์และเครื่องจักรในการผลิตมากกว่าเพิ่มจำนวนแรงงาน อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ทำให้บริษัทสหรัฐฯ ย้ายฐานการผลิตกับมายังสหรัฐฯ ได้แก่ อัตราค่าแรงในต่างประเทศเพิ่ม สูงขึ้น ผลิตในสหรัฐฯ ใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่า และสามารถผลิตตามความต้องการของผู้บริโภคได้ทันที

ขอคิดเห็น/ขอเสนอแนะ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยควรที่จะติดตามสถานการณ์แนวนโยบายการค้า และการลงทุนของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นใน อนาคต คาดว่านโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ อาจยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยในขณะนี้ หลายฝ่ายมีความเชื่อว่าการสร้างโรงงานใหม่ในสหรัฐฯ หรือการย้ายฐานผลิตกลับมายังสหรัฐฯ เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากสหรัฐฯ มีอัตราค่าแรงที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทสหรัฐฯ ที่ลงทุนในไทย ยังคงพึ่งพาการ ผลิตในประเทศไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาค ASEAN และถ้าหากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าจาก ประเทศจีน อาจเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากไทยมีต้นทุนในการผลิตที่ถูกกว่าจีน

โอกาสสินค้าไทยถ้าสหรัฐฯ ย้ายฐานผลิตกลับประเทศ ได้แก่ สินค้าไทยในกลุ่มกลุ่มวัตถุดิบ วัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ในสหรัฐฯ ชิ้นส่วนสินค้าเพื่อนำมาประกอบให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในสหรัฐฯ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ในการผลิต และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการทดแทนการนำข้าจากจีน เม็กซิโก ซึ่งจะมีต้นทุนราคาที่สูงขึ้น

ขอขอบคุณข่าวจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

219 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top