บรรจง ออร์คิด ฟาร์มเพาะกล้วยไม้ของคนไทยในไมอามี

บรรจง ออร์คิด ฟาร์มเพาะกล้วยไม้ของคนไทยในไมอามี

บริษัท Banjong Orchids ก่อตั้งขึ้นโดย Mr. Banjong Mianmanus ซึ่งเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ที่เมืองไมอามี รัฐฟลอริดามานานกว่า 20 ปีโดยเริ่มแรกดําเนินธุรกิจร้านอาหารไทยในเขตพื้นที่ชื่อร้าน Thai Orchids (ปัจจุบันเลิก กิจการแล้ว) โดยมักจะนําเอาต้นกล้วยไม้ไทยมาใช้เพื่อประดับตกแต่งภายในร้านเพื่อให้เข้ากับชื่อร้านและมักจะมีลูกค้า ชาวต่างชาติที่มารับประทานอาหารขอซื้อต้นกล้วยไม้กลับอยู่เป็นประจํา เนื่องจากกล้วยไม้ไทยมีลักษณะเด่นสะดุดตา แตกต่างจากกล้วยไม้ที่จําหน่ายอยู่ในตลาดในขณะนั้น

ดังนั้น Mr. Banjong จึงมองเห็นโอกาสในการทําธุรกิจฟาร์ม เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์กล้วยไม้เพื่อจําหน่ายและได้ลงทุนซื้อที่ที่เมือง Homestead มลรัฐฟลอริดา (เขตฟลอริดาตอนใต้) ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมจํานวน 7 เอเคอร์เพื่อดําเนินธุรกิจ โดยกล้วยไม้ที่จําหน่ายส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า เนื่องจากค่อนข้างได้รับความนิยมมาก

นอกจากนี้ Mr. Banjong ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผสมพันธุ์กล้วยไม้ใหม่ๆ และ นําขึ้นจดทะเบียนในระดับนานาชาติกว่า 100 สายพันธุ์โดยเฉพาะตระกูลแวนด้า เช่น Vanda Banjong Delight (สีส้ม), Vanda Banjong Fantasy (สีแดงส้ม), Vanda Banjong Topaz (สีเหลืองส้ม), Vanda Ben Jasmine (สีขาว-ม่วง อ่อน), Vanda Ben’s Delight (สีน้ำตาลอ่อน), Vanda Banjong B. Mianmanus (สีม่วงเข้ม) เป็นต้น อีกทั้งยัง จําหน่ายกล้วยไม้และไม้ประดับตระกูลอื่น ๆ เช่น หวาย, ซิมบิเดียม, ออนซิเดียม เฟิร์น ไม้ประดับอื่น ๆ และของตกแต่งสวนด้วย

นอกจากนี้ยังจําหน่ายกระถางดินเผา สําหรับปลูกกล้วยไม้โดยเฉพาะ ซึ่ง Mr. Banjong เป็นผู้ออกแบบเองและสั่งผลิตที่ประเทศไทย

ข้อคิดเห็นจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองไมอามี

กล้วยไม้ไทยเป็นที่นิยมในกลุ่มนักสะสมและผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ในตลาดสหรัฐฯ และประเทศใกล้เคียง เนื่องจากมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไม่เหมือนกับกล้วยไม้ในเขตพื้นที่ ในแต่ละปีสหรัฐฯ นําเข้าสินค้าต้นกล้วยไม้จากไทย เป็นมูลค่ากว่า 4 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 132 ล้านบาท) เป็นอันดับที่ 3 รองจากไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ ตามลําดับ โดยกล้วยไม้ไทยที่ได้รับความนิยมในตลาด ได้แก่แวนด้า หวาย ม๊อคคารา และรองเท้านารี เป็นต้น

เมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดาถือเป็นเมืองศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าต้นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการนําเข้าสินค้าต้นกล้วยไม้ผ่านด่านเมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดา สูงที่สุด (ร้อยละ 48) รองลงมา ได้แก่ เมืองลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 29) เมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 14) เมืองฮอนโนลูลู มลรัฐฮาวาย (ร้อยละ 4) และเมืองอื่น (ร้อยละ 5)

กฏระเบียบการอนุญาตนําเข้าสินค้าต้นกล้วยไม้ของสหรัฐฯ ภายใต้การกํากับดูแลของ APHIS (Animal and Plant Health Inspection Service) ค่อนข้างเข้มงวด โดยจะต้องปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้ง ยังมีข้อ ห้ามนําเข้าต้นกล้วยไม้ที่มีวัสดุปลูกอินทรีย์ (Organic Media) จากประเทศไทย เช่น กาบมะพร้าว ถ่าน หรือวัสดุอื่น ๆ ยกเว้น วัสดุปลูกที่ได้รับการรับรองปลอดภัย เช่น สแฟกนัมมอส (Sphagnum Moss) และวัสดุปลูกสังเคราะห์เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีใบรับรองจาก CITES (the Convention on International Trade in Endangered Species) ด้วย

เมืองไมอามีเป็นสถานที่จัดงานงานแสดงกล้วยไม้ที่ถือว่าเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาและแคริบเบียน จํานวน 2 งาน คือ งาน Tamiami International Orchid Festival จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปีและงาน Redland International Orchid Festival จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีซึ่งจะมีผู้เพาะพันธุ์และนักสะสมเข้า ร่วมงานจากทั่วโลก

ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยควรที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการผลักดันการส่งออก สินค้าต้นกล้วยไม้ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงกล้วยไม้ที่สําคัญในเขตพื้นที่เพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ โดยเฉพาะ ไต้หวันที่ครองตลาดสหรัฐฯ กว่าร้อยละ 70

ขอขอบคุณรายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองไมอามี

779 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top