นโยบายจีนที่ห้ามนำเข้าสินค้าเพื่อนำไป recycling
กำลังสร้างประโยชน์ให้แก่อุตสาหกรรมพลาสติกของสหรัฐฯ
จีนเป็นผู้บริโภคสินค้า “ขยะ (scrap)” รายใหญ่ที่สุดของโลก ในปี 2016 จีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกครองตลาดนำเข้าสินค้าขยะของโลกไว้ร้อยละ 51 เมื่อกลางปี 2017 รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายห้ามการนำเข้าขยะพลาสติกมีผลบังคับเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018 การที่จีนหยุดการนำเข้าสินค้าขยะเป็นข่าวร้ายสำหรับอุตสาหกรรม recycle แต่เป็นข่าวดีสำหรับผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ของสหรัฐฯ และการส่งออกพลาสติกทั่วไป (common plastic) ของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเติบโตห้าเท่าตัว ดังนั้น ในขณะที่จีนห้ามนำเข้าสินค้าขยะและเร่งทำความพยายามสร้างอุตสาหกรรมการรีไซเคิลเศษขยะของตนให้ยิ่งใหญ่ซึ่งจีนมองว่าเป็นวิธีการที่ถูกที่สุดในการผลิตสินค้าพลาสติกป้อนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตของตน ผู้ผลิตสหรัฐฯ ก็กำลังเร่งสร้างโรงงานผลิตสินค้าพลาสติกเพื่อป้อนตลาดโลก
Photo credit : https://pixabay.com/en/scrapyard-metal-waste-junk-recycle-2441432/
มีการคาดการณ์ว่า การที่จีนหยุดรับขยะพลาสติกเพื่อนำไปผลิตสินค้าจะทำให้ ร้อยละ 2 ของระบบการจัดหาอุปทานพลาสติกที่เป็น polyethylene ของโลกเปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้วัตถุดิบ recycle มาเป็นวัตถุดิบที่เป็นพลาสติกใหม่ เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมพลาสติกของสหรัฐฯ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำจากความสามารถผลิตแก๊สธรรมชาติได้เป็นจำนวนมาก
ขณะนี้ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ของสหรัฐฯ กำลังทุ่มเงินลงทุนจำนวนมหาศาล (185 พันล้านเหรียญฯ) ในการเพิ่มความสามารถในการผลิต ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Chevron Philips Chemical Co. ให้สัมภาษณ์ว่ากำลังวางแผนที่จะเปิดโรงงานผลิต polyethylene สองแห่งในรัฐเทกซัส และได้กล่าวว่า “ถ้าคุณดึงพลาสติกที่มาจากการ recycle ออกจากตลาด ความต้องการพลาสติกในตลาดจะเพิ่มสูงขึ้น” บริษัท DowDupont Inc. กำลังเร่งหาตลาดสำหรับสินค้าใหม่ๆจำนวนหลายล้านตันของบริษัทฯ โดยคาดว่าโรงงานผลิตพลาสติกใหม่ 4 แห่งของสหรัฐฯ จะมีกำลังการผลิตสินค้า polyethylene รวมกันถึง 3.6 ล้านตันต่อปี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคา polyethylene ในอนาคตหากไม่สามารถหาตลาดไปรองรับได้
รูปแบบการผลิตสินค้ากำลังเปลี่ยนรูปไปอย่างรวดเร็ว เดิมทีประมาณร้อยละ 30 ของวัตถุที่สามารถนำไป recycle ได้จะถูกส่งออกจากสหรัฐฯ เข้าไปยังจีนเพื่อผลิตเป็นสินค้า เมื่อจีนออกนโยบายหยุดรับสินค้าเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรม recycle ของโลก ราคาสินค้าขยะของโลกลดต่ำลงร้อยละ 10 แม้ว่าตลาด used polyethylene, PET และ polypropylene ในประเทศสหรัฐฯ จะยังอยู่ในสถานการณ์ที่ดี แต่โปรแกรมการรีไซเคิลบางโปรแกรมเริ่มมีแรงกดดัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ธุรกิจรับซื้อขยะในพื้นที่บางแห่งเช่นในเมือง Portland รัฐ Oregon เริ่มจำกัดประเภทของพลาสติกที่จะซื้อ ขยะพลาสติกเริ่มถูกขนไปทิ้งในที่ทิ้งขยะเพราะตลาดไม่ต้องการอีกต่อไป
อย่างไรก็ดี โอกาสสำหรับสินค้าพลาสติกของสหรัฐฯ ยังมีอีกมาก การส่งออกสินค้า high-value resins ไปยังประเทศจีนแทนที่การส่งออกเศษขยะราคาถูกคาดว่าจะช่วยลดการเสียดุลการค้าของสหรัฐฯ ลงได้ 250 พันล้านเหรียญฯ นอกจากนี้คาดการณ์ว่าภายในปี 2020 สหรัฐฯ จะส่งออกพลาสติก polyethylene ไปยังเอเซียประมาณ 5 ล้านตันหรือเป็นห้าเท่าของปริมาณส่งออกในปี 2016 โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งไปยังจีน
ข้อสังเกตของ สคต ลอสแอนเจลิส: ประเทศมหาอำนาจทางการค้าสองประเทศคือจีนและสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนรูปแบบระบบห่วงโซ่อุปทานและการค้าสินค้าพลาสติกในตลาดการค้าโลก ทั้งสองประเทศกำลังหันไปใช้วัตถุดิบภายในประเทศของตนในการผลิตสินค้าพลาสติกที่กำลังจะถูกแบ่งออกเป็นสองตลาดใหญ่คือ จีนใช้วัตถุดิบในประเทศที่มาจากการ recycle และอาจจะทำให้จีนเข้าไปครองตลาดสินค้าพลาสติกราคาต่ำ และสหรัฐฯ กำลังใช้วัตถุดิบที่เป็นการผลิตพลาสติกใหม่และอาจจะเข้าไปครองตลาดสินค้าพลาสติกคุณภาพดีราคาสูง อย่างไรก็ดี นโยบายของจีนได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรม recycle พลาสติกของโลกที่จะต้องแสวงหาแหล่งอื่นในการปล่อยสินค้า อุตสาหกรรม recycle และอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับตัวและหาทางตั้งรับสถานการณ์ดังกล่าว
ที่มา: Bloomberg: “China’s Blow to Recycling Boosts U.S.’s $15 Billion Plastic Bet”, by Jack Kaskey และ Ann Koh, December 5, 2017
ขอขอบคุณข่าวจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส