ธุรกิจสหรัฐฯ พร้อมเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดจริงหรือ

cashless

ผู้ค้าปลีกและร้านอาหารต้องการบริหารจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงพยายามลดการครอบครองเงินสดในมือ

จากการสํารวจในปี 2560 ของธนาคารซานฟรานซิสโกพบว่า ชาวอเมริกันจับจ่ายซื้อสินค้าด้วยเงินสดเพียงร้อยละ 30 ของการทําธุรกรรมทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ใช้เงินสดเพื่อซื้อสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 10 เหรียญสหรัฐ และการใช้จ่ายเงินสดส่วนใหญ่ นั้นพบได้ในกลุ่มผู้บริโภคมีรายได้ต่ำกว่า 25,000 เหรียญสหรัฐ/ปี

อย่างไรก็ตามเมืองและรัฐต่างๆ พยายามเริ่มดําเนินการจัดการกับร้านค้าปลอดเงินสดดังกล่าว โดยการออกกฎหมายห้ามมิให้ร้านค้าปฏิเสธการรับเงินสด โดยมีรัฐฟิลาเดลเฟียและรัฐนิวเจอร์ซีได้เริ่มนําร่องไปแล้ว ส่วนนครนิวยอร์ก รัฐวอชิงตัน และเมืองซานฟรานซิสโก ก็กําลังพิจารณาร่างกฎหมายที่คล้ายคลึงออกมา  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลางไม่ได้บังคับให้ร้านค้าต้องรับเงินสด 

อนึ่ง สว. Nellie Pou จากรัฐนิวเจอร์ซี มีความเห็นว่าการจ่ายชําระด้วยบัตร อาจจะสะดวกกับบางธุรกิจ แต่อาจเป็นการเลือกปฏิบัติกับชุมชนที่ยากจนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือสินเชื่อ

Photo by Austin Distel on Unsplash

อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าปลีกและร้านอาหารรายสําคัญอย่าง บริษัท Amazon: ร้านค้า grocery จําหน่ายภายใต้ชื่อ Amazon Go, บริษัท sweetgreen: ร้าน จําหน่ายสลัดแบบ chain store จําหน่ายภายใต้ชื่อ sweetgreen, บริษัท Dig Inn: ร้านอาหารแบบ chain restaurant เน้นใช้วัตถุดิบจากฟาร์มท้องถิ่นจําหน่ายภายใต้ชื่อ Dig Inn, และบริษัท Dos Toros: ร้านอาหารแบบ chain restaurant ให้บริการอาหารเม็กซิกันสไตล์แคลิฟอร์เนียตอนเหนือ จําหน่ายภายใต้ชื่อ Dos Toros รวมทั้งร้านท้องถิ่นรายอื่นๆ ในเมืองชั้นนําได้เริ่มลดการถือครองเงินสดแล้ว

บริษัท sweetgreen ได้ยกเลิกระบบเงินสดในปี 2560 โดยกล่าวว่าระบบปลอดเงินสดดังกล่าวมีความปลอดภัย และทําให้พนักงานสามารถบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและถูกต้อง นอกจากนี้บริษัทเสริมว่า ธุรกิจแอร์ไลน์ส่วนใหญ่และบางประเทศ เช่น สวีเดน ก็ได้ลดการรับเงินสดและผันตัวเข้าสู่ระบบปลอดเงินสดแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้นาง Michelle Gauther ผู้ก่อตั้งร้านอาหาร Mulberry & Vine ร้านอาหารสไตล์สบายๆ ที่มีสาขาอยู่ เป็นจํานวนมากในนครนิวยอร์ก กล่าวว่าทางร้านได้ยกเลิกระบบเงินสดในปี 2559 ทําให้การบริหารจัดการทางด้านการเงิน และการดําเนินงานของพนักงานมีประสิทธิภาพอย่างมาก

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Mercedes Benz Stadium ซึ่งเป็นสนามกีฬาหลักของทีม Atlanta Falcon (NFL) และ Atlanta United (MLS) เป็นผู้นําร่องสนามกีฬาปลอดเงินสด ทําให้ทางสนามกีฬาสามารถลดระยะวลาในการรอคอย ตลอดจนสามารถกําหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและการลดราคาต่างๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทางสนามกีฬาได้ ติดตั้งระบบ Kiosk จํานวน 10 จุดทั่วสนามเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับแฟนกีฬาในการใช้บัตรจ่ายชําระค่าอาหารและ สินค้าที่ระลึกต่างๆ

ในปี 2560 บริษัทบัตรเครดิตหลายรายที่เก็บค่าธรรมเนียมจากธุรกิจเมื่อลูกค้าทําธุรกรรมการซื้อ ได้เสนอร้านค้า และร้านอาหารต่างๆ ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสด ภายใต้โครงการ “Visa Cashless Challenge” โดยร้านอาหารจะได้รับเงิน มูลค่า 10,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อร้านค้าและร้านอาหารเหล่านั้นหยุดรับเงินสด

Photo by Ahmad Ardity on Pixabay

ในทางตรงข้าม จากข้อมูลปี 2560 ระบุว่าประมาณ 8.4 ล้านครัวเรือนสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของ ประเทศนั้นไม่มีบัญชีธนาคาร และตามข้อมูลล่าสุดของ Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ระบุว่า 24.2 ล้านครัวเรือนสหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 19 ของประเทศมีบัญชีธนาคาร แต่ยังใช้บริการด้านการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาณัติ (money order) เช็คเงินสด และเงินกู้

แม้ว่าจํานวนของชนกลุ่มน้อย (minorities) และครัวเรือนที่มีอายุน้อย (young household) ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ได้มีการปรับตัวลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ตามข้อมูลของ FDIC ปี 2560 ระบุว่าครัวเรือนชาวผิวสีเกือบร้อยละ 17 และครัวเรือนชาวฮิสแปนิกร้อยละ 14 ยังไม่มีบัญชีธนาคาร

สาเหตุหลายประการที่ทําให้ชาวอเมริกันไม่มีบัญชีธนาคารเพราะไม่มีเงินเพียงพอที่จะเก็บไว้ในบัญชี นอกจากนี้ หนึ่งในสามของครัวเรือนที่ไม่มีธนาคารกล่าวว่าพวกเขาไม่เชื่อถือธนาคาร เนื่องจากความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและค่าธรรมเนียมบัญชีธนาคารที่สูงเกินไป

Photo by David Shares on Unsplash

อย่างไรก็ดีเมืองต่างๆ ได้พยายามสร้างสมดุลโดยการนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ในขณะเดียวกันก็สนับสนุน ประชาชนที่ด้อยโอกาสด้วย ในเมืองฟิลาเดลเฟียอัตราความยากจนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 26 ดังนั้นเมืองฟิลาเดลเฟียจึงได้ ออกกฎหมายห้ามมิให้ร้านค้าปฏิเสธการรับเงินสด โดยกฎหมายของฟิลาเดลเฟียจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงผู้ขายสินค้าออนไลน์ ที่รับจอดรถ ร้านค้าส่ง และร้านค้าปลีกที่จําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคแบบ exclusively เฉพาะลูกค้าที่เป็นสมาชิก 

อย่างไรก็ดีผู้สนับสนุนธุรกิจรวมถึง Pennsylvania Restaurant & Lodging Association กังวลว่ากฎหมายดังกล่าวอาจส่งผลให้ธุรกิจทำการถอนออกจากพื้นที่ ในขณะที่สมาชิกของสภาเมืองฟิลาเดลเฟียมองว่ากฎหมายนี้ควรมีผลบังคับใช้โดยเร็วก่อนที่หลายๆ ธุรกิจจะกลายเป็นร้านปลอดเงินสดและกฎหมายจะต้องทำให้ธุรกิจกลับมารับเงินสด กฎหมายนี้ไม่ได้ทำให้ร้านค้าต้องทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม แต่เป็นการขอให้ร้านค้าทำเหมือนอย่างที่เคยทำ เนื่องจากการใช้จ่ายด้วยเงินสดยังคงเป็นช่องทางการค้าโดยปกติ

Photo by Matthew Kwong on Unsplash

ข้อคิดเห็นของสํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

  1. ปัจจุบันนี้สหรัฐฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบ วิถีการ ดําเนินชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันมากยิ่งขึ้นทําให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ววิธีการชําระเงินแบบปลอด เงินสดดังกล่าวยังอํานวยประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจขจัดปัญหาการชําระเงินและทําให้สามารถปิดการเจรจาการค้าสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  2. ในสหรัฐฯ กลุ่มผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายด้วยการชําระเงินทางมือถือมีอายุระหว่าง 30-40 ปี มีการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาขึ้นไปและมีเงินเดือนประจําปีสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
  3. วิธีการชําระเงินแบบดิจิทัล เช่น mobile wallet หรือบริการชําระเงินผ่าน PayPal, Apple Pay หรือ Google Wallet เติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคนิยมการชําระเงินผ่านมือถือสําหรับการทําธุรกรรมประจําวันเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดี ผู้ค้าปลีกและ Small Medium Businesses (SMBs) ได้ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวและได้นําเสนอ วิธีการชําระเงินผ่านมือถือให้สะดวกสบายและง่ายมากยิ่งขึ้น
  4. ผู้ส่งออกไทยที่สนใจเจาะตลาดสหรัฐฯ ควรเริ่มวางแผนการรับชําระเงินด้วยบัตรเครดิตและ Mobile Pay ทั้งการ จําหน่ายแบบออนไลน์ แบบร้านค้าและแบบ pop up

1,066 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top