ส่งออกกุ้งไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 แต่ภาคประมงในประเทศเสียหายหนัก

“กุ้ง” ถือเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจสำคัญสำหรับประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีสร้างรายได้จากการส่งออกให้ประเทศไทยได้ไม่ตำกว่าหมื่นล้านบาท แต่หลังจากที่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งถือเป็นตลาดกลางการค้ากุ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยอดขายกุ้งภายในประเทศก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

จากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เมื่อช่วงก่อนสิ้นปีที่แล้ว ส่งผลให้การติดเชื้อกระจายไปทั่วประเทศไทย ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสจะไม่สามารถแพร่กระจายผ่านกุ้งหลังที่ปรุงสุกได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นโดยเฉพาะภาคการส่งออก

โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมงได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมประมงได้ออกประกาศมาตรฐานรับรองการปนเปื้อนโควิดในห่วงโซ่สินค้าประมงเพิ่มเติมโดยแยกเป็นเรื่องการรับรองสินค้าตั้งแต่เรือประมง สะพานปลา  ระบบการขนส่ง ตลาดค้าปลีก โมเดิร์นเทรด  และการรับรองมาตรฐานตั้งแต่ฟาร์ม การขนส่ง และตลาด โดยจะมีเครื่องหมายรับรองบรรจุภัณฑ์อย่างเด่นชัด

นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งในฟาร์มเลี้ยงและร้านค้า  ซึ่งเป็นไปตามมาตรการของกรมประมงที่มีการควบคุมและเฝ้าระวังการใช้ยารวมทั้งสารเคมีในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งทะเลอย่างสม่ำเสมอ  ทั้งนี้ จึงมั่นใจได้ว่าผลผลิตกุ้งทะเลจากมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม มีคุณภาพ ถูกหลักสุขอนามัย ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ก่อนหน้านี้ หลังจากที่พบการติดเชื้อในพื้นที่ จ.สมุทรสาครใหม่ ๆ หอการค้าจังหวัดสมุทรสาครได้ออกมายอมรับว่ามีผลกระทบต่อปริมาณการซื้อขายกุ้งในตลาดทะเลไทยลดลงไปประมาณ 20% เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่แม่ค้าที่ซื้อกุ้งไปขายต่อเข้ามาจับจ่ายน้อยลง

ส่วนตลาดส่งออกกุ้งไทยยังไม่มีผลกระทบ เนื่องจากที่ผ่านมาแต่ละบริษัทส่งออกต่างมีกระบวนการปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ทั้งในส่วนพนักงานที่ทำงานในโรงงาน และวัตถุดิบอาหารทะเลแปรรูปที่เข้ามาสู่โรงงาน

ถึงแม้ว่าการส่งออกยังอยู่ในภาวะปรกติ แต่ภาคประมงก็ได้รับผลกระทบจากกระแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้อยู่ไม่น้อย โดยนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าชาวประมงเฉพาะจังหวัดสมุทรสาครได้รับผลกระทบและเสียหายประมาณ 200 ล้านบาท/วัน

แต่ถ้ารวมทุกจังหวัดที่ทำการประมงก็มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,000 ล้านบาท/วัน ตอนนี้อาหารทะเลต้องเผชิญกับปัญหาราคาตกต่ำลง แทบทุกสินค้าลดลงมาเหลือ 40% โดยเฉพาะ “กุ้งทะเล” จาก 300 บาท/กก. ลดเหลือ 150 บาท/กก. เนื่องจากจำนวนผู้ค้าที่จะเข้าไปซื้ออาหารทะเลในพื้นที่สมุทรสาครลดลง 30-40% จึงทำให้ราคาตกต่ำลง

สมาคมฯ ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อขอให้กำหนดมาตรการเยียวยาผลกระทบชาวประมงจากการระบาดโควิดระลอกใหม่ โดยขอให้เพิ่มวันทำการประมงจากเดิมที่จะหมดรอบให้วันที่ 31 มีนาคม 2564 กับขอยืดการชำระภาษีออกไปอย่างน้อย 1 ปี

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2564 สมาคมผู้ส่งออกอาหารแช่แข็งได้ออกมายืนยันว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ จ.สมุทรสาคร ยังไม่ส่งผลกระทบการส่งออกในไตรมาสแรก โดยยังมีการสั่งจากนอกประเทศเป็นปรกติ สินค้าอาหารสัตว์น้ำและแช่เยือกแข็งของไทยมีมูลค่าการส่งออกในปีที่ผ่านมาสูงถึง 300,000 ล้านบาท โดยมีวงจรการผลิตกับโรงงานในประเทศถึง 457 โรงงาน

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และประธานสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่อยู่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวตอนนี้ถือว่าหนักที่สุด และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่ยืนยันได้ว่า ยังไม่กระทบต่อปริมาณวัตถุดิบ การผลิต รวมถึงการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและอาหารทะเลของประเทศไทย พร้อมยืนยันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงออเดอร์ที่รับไว้ล่วงหน้าในไตรมาสแรก

อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/economy/news-590867
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914741

337 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top