13 แนวคิดธุรกิจขนาดเล็กแบบลงทุนต่ำแต่ได้ผลกำไรสูง

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนมากมายไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม บางคนถูกลดชั่วโมงในการทำงาน หรือโดนเลิกจ้างเนื่องจากเจ้าของกิจการไม่มีรายได้ แต่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ก็มีหลายคนมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ

แม้ว่าการล๊อกดาวน์ทำให้การออกไปนอกบ้านเพื่อจับจ่ายใช้สอยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจทำได้ไม่ง่ายเหมือนในอดีต แต่ในปี 63 กลับมีธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพเกิดขึ้นมากมาย โดยส่วนใหญ่เป็นการเริ่มต้นธุรกิจจากที่บ้านของตัวเอง

นี่คือตัวอย่าง 13 แนวคิดทางธุรกิจลงทุนต่ำที่สร้างรายได้ดี ที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตนเองและเงินลงทุนเพียงเล็กน้อย

  1. ธุรกิจ Dropshipping

Dropshipping เป็นรูปแบบการขายสินค้าที่ให้ซัพพลายเออร์บุคคลที่สามทำหน้าที่จัดเก็บและจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า และเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่ยุ่งวุ่นวาย และปรับขนาดได้ โดยเจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องจัดการผลิตภัณฑ์ใด ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่ทำการขายและส่งต่อคำสั่งซื้อ เพื่อให้ซัพพลายเออร์ดำเนินการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าต่อไป

  1. ออกแบบและจำหน่ายเสื้อพิมพ์แบบตามสั่ง

ออกแบบรูปภาพ คำขวัญ หรือข้อความต่างๆ ที่ถูกใจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และตอบสนองต่อโอกาสหรือเทศกาลต่าง ๆ เพื่อจัดพิมพ์ลงบนเสื้อยืด หมวก ปลอกโทรศัพท์ เสื้อแบบมีฮู้ด กระโปรง ถุงผ้าและสินค้าอื่น ๆ โดยข้อดีของธุรกิจนี้คือ ผู้จัดทำสามารถผลิตสินค้าตามจำนวนคำสั่งซื้อได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในการผลิตสินค้าล่วงหน้า

  1. ตีพิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์

ตีพิมพ์ตำราอาหาร หนังสือภาพ หนังสือการ์ตูน หนังสือกวีนิพนธ์ หนังสือภาพ นวนิยาย หรือ eBook จากต้นฉบับที่มีอยู่แล้ว โดยการพิมพ์ตามความต้องการเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยในการทดสอบความนิยมของหนังสือ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้จัดทำสามารถควบคุมคุณภาพและรูปลักษณ์ของหนังสือของตนเองได้อีกด้วย

  1. สร้างผลิตภัณฑ์หรือหลักสูตรออนไลน์

สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล เช่น เพลง หลักสูตรการเรียนรู้ต่าง ๆ และ template โดยเน้นเคล็ดลับคือ การหาผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีประโยชน์มากพอที่จะทำให้ผู้ซื้อยอมจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลด

  1. ขายโปสเตอร์ การ์ดอวยพร และภาพพิมพ์ตามสั่ง

สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะผ่านการวาด หรือการถ่ายภาพ โดยผู้จัดทำสามารถนำงานศิลปะนั้นมาเปลี่ยนแปลงเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เช่น โปสเตอร์ ภาพติดผนัง และการ์ดอวยพร เป็นต้น

  1. เริ่มธุรกิจการกุศล

ทำธุรกิจโดยจัดสรรผลกำไรบางส่วนไว้สำหรับองค์กรหรือกลุ่มคนที่ต้องการช่วยเหลือเพื่อทำประโยชน์ต่อสังคม และยังเป็นการสร้างพันธมิตรกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอีกด้วย

  1. งานบริการ

นำเสนอบริการโดยใช้ทักษะพิเศษที่เป็นที่ต้องการในตลาด เช่น การถ่ายภาพ การเขียน การออกแบบกราฟฟิก การเป้นผู้ช่วยเสมือนจริง (virtual assistant) การให้บริการทำความสะอาด และความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

  1. สร้างบูติกแฟชั่นออนไลน์

สร้างร้านค้าบูติกแฟชั่นออนไลน์ โดยผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องออกแบบสินค้าเอง แต่สามารถนำสินค้าจากผู้ขายรายอื่นมาลงขายในร้านค้าออนไลน์ของตนได้ โดยใช้ dropshipping model

  1. ขายงานฝีมือและสินค้าทำเอง

สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ handmade ต่างๆ เช่น สบู่ เทียน ซอส หรือเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น เพื่อขายผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยอาจเริ่มจากการขายแบบพรีออเดอร์หรือขายจำนวนจำกัด จนกว่าจะสามารถขายได้อย่างต่อเนื่อง และขยายธุรกิจต่อไปด้วยการบอกปากต่อปาก จนอาจพัฒนากลายเป็นธุรกิจขนาดเล็กแบบเปิดเต็มเวลา

  1. สร้างกลุ่มผู้ชมที่สามารถสร้างรายได้

ปัจจุบันมีช่องทางโซเชียลมีเดียสำหรับเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการจัดทำคอนเทนต์มากมาย ทั้ง YouTube Instagram หรือ blog (หรือทุกช่องทางรวมกัน) โดยรับรายได้ผ่านการโพสต์สินค้าที่ได้รับการ sponsor จากแบรนด์ต่าง ๆ การเป็น influencer หรือการขายผลิตภัณฑ์ทั้งสินค้าที่จับต้องได้และสินค้าดิจิทัล เป็นต้น

  1. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

อุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้สนใจอาจเริ่มต้นจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการ อาทิ สินค้าพิมพ์ภาพสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์เสริม อาหาร ของเล่น การรับจ้างตัดขนและอาบน้ำ การรับจ้างพาเดิน หรือการฝึกอบรมความเชี่ยวชาญ เป็นต้น

  1. จัดทำระบบสมัครสมาชิก

การจัดทำระบบสมัครสมาชิกออนไลน์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีกลุ่มลูกค้าที่กระตือรือร้นและชอบการมีส่วนร่วม โดยการจ่ายค่าบริการเพื่อแลกกับผลิตภัณฑ์หรือบริการออนไลน์เพื่อเข้าถึงเนื้อหาบนเว็บไซต์สำหรับสมาชิกเท่านั้น และยังเหมาะกับการสร้างธุรกิจทางกายภาพที่เสนอการให้คำแนะนำทางออนไลน์ เช่น สตูดิโอสอนโยคะ สถานที่ออกกำลังกาย และโรงเรียนสอนศิลปะ เป็นต้น

  1. เข้าร่วมโปรแกรมการตลาดพันธมิตร (affiliate marketing program)

การตลาดแบบพันธมิตร หรือ affiliate marketing program หมายถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่เจ้าของผลิตภัณฑ์จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้แก่ affiliate หรือผู้เข้าร่วม ในกรณีที่สามารถหาลูกค้ามาให้หรือขายสินค้าได้ โดย affiliate สามารถส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์บนโซเชียลมีเดียของตน บล็อก หรือเว็บไซต์ของตนได้

อ้างอิงจาก

https://www.shopify.com/blog/low-investment-business-ideas

617 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top