Convenience Foods in Demand

Convenience Foods in Demand

ชาวอเมริกันมีแนวโน้มการบริโภคอาหารที่ประหยัดเวลาในการเตรียมหรือการปรุงเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ กล่าวโทษอาหารดังกล่าวว่าเป็นต้นเหตุของโรคอ้วนในชาวอเมริกันส่วนใหญ่ เพราะอาหารประเภทสะดวกซื้อส่วน ใหญ่ไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อสุขภาพและยังมีปริมาณแคลอรี่ที่สูงกว่าอาหารที่ปรุงเอง ซึ่งการเลือกซื้อและบริโภค อาหารสะดวกซื้อของชาวอเมริกันในปัจจุบันนั้นขึ้นอยู่หลายปัจจัย อาทิ

  • ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ถูกจํากัดในเรื่องของเวลาที่ต้องอุทิศไปกับการทํางาน ทําให้มีเวลาในการเตรียม อาหารน้อยลง
  • ราคาของอาหารสะดวกซื้อมีการปรับลดลงเมื่อเทียบกับราคาอาหารที่ซื้อมาปรุงเอง
  • การเปลี่ยนแปลงรายได้ของครัวเรือนมีผลต่อการเลือกซื้ออาหารสะดวกซื้อมากขึ้น
  • การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของอาหารสะดวกซื้อที่เพิ่มขึ้นและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นผลักดันให้ความ ต้องการเพิ่มขึ้น

อาศัยข้อมูลในช่วงปี 1999-2010 Economic Research Service ภายใต้ United States Department of Agriculture หรือ USDA แบ่งอาหารออกเป็น 6 ประเภทโดยเรียงลําดับตามเวลาที่ผู้บริโภคจะประหยัดได้ใน การเตรียม/ปรุงอาหาร หรือระดับของความสะดวกจากน้อยไปหามา ดังนี้

๑. ส่วนประกอบพื้นฐาน (Basic Ingredients) คือ อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปเลยหรือผ่านน้อยมาก และมักจะประกอบด้วยสินค้าโภคภัณฑ์หนึ่งอย่าง

๒. ส่วนประกอบซับซ้อน (Complex Ingredients) คือ อาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้ว และมักจะ ประกอบด้วยสินค้าโภคภัณฑ์มากกว่าหนึ่งอย่าง

๓. อาหารพร้อมปรุง (Ready-to-cook (RTC)) คือ อาหารหรือของทานเล่นซึ่งต้องผ่านการปรุงโดย ใช้ความร้อนหรือผสมกับของเหลวก่อนการบริโภค

๔. อาหารปรุงสําเร็จ (Ready-to-eat (RTE)) คือ อาหารหรือของทานเล่นที่ไม่ต้องผ่านการปรุงและ สามารถบริโภคได้ทันที

๕. อาหารหรือของทานเล่นตามร้านอาหารจานด่วน Fast-food restaurants

๖. อาหารหรือของทานเล่นตามร้านอาหารนั่งรับประทาน Sit-down restaurants

โดยผลจากการศึกษาพบว่า Basic Ingredients และ Complex Ingredients ซึ่งเป็นประเภทที่มีระดับ ความสะดวกน้อยที่สุดคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1 ใน 4 ของงบการใช้จ่ายด้านอาหารโดยเฉลี่ยของครัวเรือนชาวอเมริกัน

สัดส่วนการใช้จ่ายสําหรับ Basic Ingredients ค่อนข้างคงที่ตั้งแต่ปี 1998 จนถึงปี 2010 ในขณะที่การใช้จ่าย สําหรับ Complex Ingredients เริ่มลดลงก่อนหน้าช่วงเศรษฐกิจถดถอย (ธันวาคม 2007 ถึง มิถุนายน 2009)แต่ก็ปรับเพิ่มขึ้นหลังจากนั้น ในขณะที่อาหารสะดวกซื้อที่มีระดับความสะดวกมากอย่างอาหารพร้อมปรุงและอาหารปรุงสําเร็จ คิดเป็น สัดส่วนถึงร้อยละ 26 ของงบการใช้จ่ายด้านอาหารโดยเฉลี่ยของครัวเรือนในช่วงระหว่างปี 1999 ถึงปี 2010 โดย การเติบโตของอาหารปรุงสําเร็จเริ่มเพิ่มมากขึ้นในปี 2007 เป็นต้นมา แต่อาหารพร้อมปรุงค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลา เดียวกัน โดยกลุ่มอาหารสะดวกซื้อที่มีระดับความสะดวกมากที่สุดอย่าง ร้านอาหาร Fast-food และร้านอาหารนั่ง รับประทาน คิดเป็นสัดส่วนประมาณกึ่งหนึ่งของงบการใช้จ่ายด้านอาหารโดยเฉลี่ยของครัวเรือนชาวอเมริกัน โดย ในช่วงปี 1999-2010 อาหารในกลุ่ม Fast-food เติบโตขึ้นจากร้อยละ 24 เป็นร้อยละ 27 แต่อาหารในกลุ่ม ร้านอาหารนั่งรับประทาน ลดลงจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 23 ปัจจัยสําคัญที่เป็นตัวกําหนดความต้องการอาหารทั้ง 6 กลุ่มได้แก่ราคาและการใช้จ่ายด้านอาหารที่ถูก กําหนดจากการเปลี่ยนแปลงรายได้ของผ้บรู ิโภค นอกจากนี้ยังพบข้อมูลอื่นๆที่เป็นตัวผลักดันความต้องการดังกล่าว ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงด้านราคาสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการซื้ออาหารทั้ง 6 ประเภท ระหว่างปี 1999 และปี 2010 การชะลอตัวเฉลี่ยรายไตรมาสของ Basic Ingredients และอาหารปรุงสําเร็จ เกิด จากการเปลี่ยนแปลงของราคา ในขณะที่การขยายตัวเฉลี่ยรายไตรมาสของอาหารพร้อมปรุงเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่สามารถนํามาทดแทนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Complex Ingredient และอาหารปรุง สําเร็จ
  • การใช้จ่ายในการบริโภคอาหารตามร้านอาหารจานด่วนไม่ได้เป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ของราคาการใช้จ่ายในการบริโภคอาหารตามร้านอาหารนั่งรับประทาน แต่เป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ของรายได้ที่นําไปสู่ค่าใช้จ่ายด้านอาหารมากกว่าถึง 5-6 เท่า
  • การโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นปัจจัยสําคัญต่อความต้องการบริโภคอาหารจานด่วน เช่น ร้อยละ 1 ที่เพิ่มขึ้นในการโฆษณาอาหารจานด่วนสามารถเพิ่มความต้องการบริโภคอาหารจานด่วนได้ถึงร้อยละ 0.25 ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมีอที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระตุ้นผู้บริโภคของ อุตสาหกรรมอาหารจานด่วน
  • แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของอาหารปรุงสําเร็จจะค่อนข้างสูงในช่วงปี 1999 และปี 2010 แต่กลับพบว่าไม่ค่อยประสบผลสําเร็จในการกระตุ้นความต้องการอาหารปรุงสําเร็จเท่าที่ควร ซึ่งการ ใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์อาหารประเภทอื่นๆ ก็ให้ผลลัพธ์ในรูปแบบเดียวกัน
  • ค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทํางานของผู้ที่มีงานทําในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะลดความต้องการ ในการบริโภค Basic Ingredients ลงร้อยละ 0.19 อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทํางานดังกล่าวระหว่างปี 1999 และปี 2010 มีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก ที่มา: Economic Research Service / USDA www.ers.usda.gov/publications/err-economic-research-report/err211
  • ค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทํางานของผู้ที่มีงานทําในครัวเรือนส่งผลกระทบน้อยมากต่อความต้องการ บริโภคอาหารสะดวกซื้อ อาทิอาหารปรุงสําเร็จ อาหารจานด่วน และอาหารตามร้านอาหารนั่งรับประทาน

จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชั่วโมงการทํางานกลับกลายเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลกระทบกับระดับความสะดวก ของประเภทอาหารในกลุ่ม Basic Ingredients ซึ่งน่าประหลาดใจว่าชั่วโมงการทํางานน่าจะส่งผลในการเพิ่มความ ต้องการบริโภคอาหารในกลุ่ม Fast-food มากกว่า แต่ที่แน่นอนก็คือการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังคงเป็น ตัวกระตุ้นสําคัญในการเลือกบริโภคอาหารในกลุ่ม Fast-food อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในด้านราคาของ อาหารและงบการใช้จ่ายของครัวเรือนในด้านอาหารถูกพบว่าเป็นตัวแปรหลักในการกระตุ้นความต้องการในการ บริโภคอาหารแต่ละประเภท ซึ่งชาวอเมริกันไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนความต้องการไปบริโภคอาหารในระดับความ สะดวกที่เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าว ในส่วนของผู้ประกอบการสินค้าอาหารของไทยควรนํา ข้อมูลการศึกษานี้ไปประกอบกับข้อมูลด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนําไปวิเคราะห์การวางแผน การตลาดในส่วนที่สินค้าของตนมีความเกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

ขอขอบคุณข่าวจาก สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

Share This Post!

313 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top