กฏระเบียบการส่งข้อมูลสินค้านำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ

กฏระเบียบการส่งข้อมูลสินค้านำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ

องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศด้านการประมงแห่งชาติสหรัฐ (NOAA Fisheries) เปิดเผยกฏระเบียบสุดท้ายสำหรับการรายงานข้อมูลการค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกฏระเบียบนี้จะเป็นการบูรณาการเก็บรวบรวมเอกสารการค้าในระบบข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลผ่านทางช่องทางอัตโนมัติช่องทางเดียว กฏระเบียบนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2559 เป็นต้นไปกฏระเบียบนี้มีขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายด้านการจัดระเบียบการนำเข้าและส่งออกในสหรัฐฯ เมื่อปี 2557 ของประธานาธิบดี โอบามา ซึ่งต้องการมีการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ทางเดียวผ่านระบบข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ (ITDS) เพื่อจัดระเบียบการส่งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกลางของสหรัฐฯ กฏนี้ช่วยให้ NOAA Fisheries เป็นการจัดระเบียบขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นการค้าสินค้าประมงบางประเภท กฎระเบียบนี้เป็นการบูรณาการการเก็บรวบรวมเอกสารการค้าภายใต้ ITDS และบังคับให้ข้อมูลถูกส่งช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ช่องทางเดียว และมีขึ้นเพื่อหยุดสินค้าประมงผิดกฏหมายเข้าประเทศสหรัฐฯ เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคสินค้าทะเลในสหรัฐฯ ว่าสินค้าทะเลเหล่านั้นไม่ได้มาจากการประมงผิดกฏหมาย โดยองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศด้านการประมงแห่งชาติสหรัฐจะมีการประชุมสัมมนาผ่านออนไลน์ในวันที่ 18 ส.ค และ 1 ก.ย. 59 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบใหม่นี้โดยสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มและข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ชื่อกฎระเบียบ: Trade Monitoring Procedures for Fishery Products: International Trade in Seafood; Permit Requirement for Imports and Exporters (ปฏิบัติการสอดส่องดูการค้าผลิตภัณฑ์สินค้าประมง การค้าระหว่างประเทศอาหารทะเล ข้อกำหนดให้มีใบอนุญาตนำเข้าและส่งออก)

ผู้จัดทำกฎระเบียบ: National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง:

  1. SAFE Port Act of 2006
  2. The Magnuson-Stevens Fishery Conservation and Management Act (MSA)

วันที่ประกาศกฎระเบียบสุดท้ายใน Federal Register: 3 สิงหาคม 2016

วันที่มีผลบังคับใช้: 20 กันยายน 2016 ยกเว้นการปรับเปลี่ยนบางรายการที่ผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 3 สิงหาคม 2016 (สินค้า Bluefin tuna, Southern bluefin Tuna, Frozen bigeye tuna, Swordfish, Shark fins)

สาระสำคัญ: กฎระเบียบนี้เป็นการแก้ไขปฏิบัติการและข้อบังคับในการยื่นเอกสารนำเข้า/ส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์ประมงบางรายการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย SAFE Port Act of 2006 และกฎหมาย The Magnuson-Stevens Fishery Conservation and Management Act (MSA) และข้อผูกมัดต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่สหรัฐฯเข้าร่วมในองค์กรที่บริหารจัดการการประมงประจำภาคพื้น (regional fishery management organizations – RFMOs) และการดำเนินการต่างๆที่สหรัฐฯเป็นสมาชิกหรือเป็นผู้เข้าร่วมทำสัญญา National Marine Fisheries Service (NMFS) ได้กำหนดกฎระเบียบการผสมผสานรวบรวมเอกสารด้านการค้าภายในระบบ International Trade Data System (ITDS) ของทุกหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯเข้าเป็นหนึ่งเดียวและบังคับให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบอิเลคโทรนิกส์ผ่านทางระบบอัตโนมัติที่จัดเก็บโดย Department of Homeland Security, Customs and Border Protection (CBP) ภายใต้การเก็บข้อมูลผสมผสานเข้าด้วยกันนี้ NMFS กำหนดให้มีต้องมีการต่ออายุ International Fisheries Trade Permits (IETP) เป็นประจำทุกปีสำหรับผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ทำการส่งออก ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง (re-export) สินค้าอาหารทะเลบางรายการที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับและที่ตกอยู่ภายใต้โปรแกรมการสอดส่องติดตามดูการค้าของ RFMOs และ/หรือที่ตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับให้มีการจัดทำเอกสารภายใต้กฎหมายภายในประเทศสหรัฐฯ โปรแกรมต่างๆที่เป็นการสอดส่องติด ตามดูการค้าจะทำให้ประเทศสหรัฐฯสามารถแยกสินค้าที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขสำหรับการนำเข้าตลาดสหรัฐฯออกไป ที่รวมถึงสินค้าที่เป็นผลมาจากกิจกรรมด้านการประมงที่ผิดกฎหมาย ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ไม่เข้มงวดในการควบคุม และที่ไม่มีการรายงาน กฎระเบียบสุดท้ายนี้จะรวมใบอนุญาตด้านการค้าระหว่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ตกอยู่ภายใต้กฎระเบียบนี้ภายใต้โปรแกรม the Antarctic Marine Living Resources (AMLR) และ Highly Migratory Species International Trade Permit (HMSITP) เข้าเป็นหนึ่งเดียว และขยายขอบเขตข้อบังคับให้ต้องมีใบอนุญาตให้รวมถึงสินค้าอาหารทะเลที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบนี้ภายใต้ Tuna Tracking and Verification Program (TTVP) กฎระเบียบสุดท้ายนี้บังคับเจาะจงลงไปด้วยว่าต้องมีข้อมูลและเอกสารด้านการค้าสำหรับโปรแกรมต่างๆข้างต้นจัดส่งทางระบบอิเลคโทรนิกส์ให้แก่ CBP และระบุถึงข้อบังคับเรื่องการเก็บบันทึกสำหรับโปรแกรมต่างๆเหล่านี้ เอกสารต่างๆด้านการค้าแต่ไม่รวมเอกสารที่ยังไม่บังคับให้ต้องรายงานในขณะทำการนำเข้า/ส่งออก (เช่น biweekly dealer reports)

ความเป็นมา: The Security and Accountability for Every Port Act of 2006 (SAFE Port Act) กำหนดให้หน่วยงานรัฐบาลกลางทุกหน่วยงานที่มีบทบาทในการตัดสินใจอนุญาตการนำเข้าเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆด้วยระบบอิเลคโทรนิกส์โดยให้หน่วยงาน CBP พัฒนาระบบ Automated Commercial Environment (ACE) เป็นระบบอินเตอร์เน็ทสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับ ITDS และ the Office of Management and Budget (OMB) ดูแลหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลกลางที่เข้าร่วมใน ITDS โดยจะเน้นไปที่การลดการรายงานที่ซับซ้อน และลดระบบการรายงานด้วยกระดาษและเปลี่ยนไปเป็นการรวบรวมข้อมูลทางอิเลคโทรนิกส์

  • ITDS หมายถึงโปรเจ็คการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานรัฐบาลกลางเป็นระบบอิเลคโทรนิกส์และจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยงานอื่นๆของรัฐบาลกลางที่จำเป็นต้องใช้
  • ACE หมายถึงระบบ “Single Window”ที่เป็นช่องทางผู้ที่อยู่ในธุรกิจการค้าจะต้องยื่นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯ

ข้อบังคับในการส่งออก: ระบบที่ใช้ในการยื่นเอกสารส่งออกทางอิเลคโทรนิกส์เรียกว่า Automated Export System

(AES) เอกสารสำคัญที่อธิบายข้อบังคับต่างๆเรื่องการยื่นการส่งออกคือ Automated Export System Trade Interface Requirements (AESTIR)

  1. เวบไซด์ของ CBP ที่ระบุข้อมูลในเรื่องนี้คือ www.cbp.gov/trade/aes
  2. วิธีการยื่นข้อมูลส่งออกผ่านทาง AES ศึกษาได้ที่www.cbp.gov/trade/aes/aestir/introduction-and-guidelines
  3. แบบฟอร์มการทำบันทึก PGA ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งออก (Partner Government Agency –PGS export requirement) ศึกษาได้ที่ www.cbp.gov/document/guidance/aestir-draft-appendix-q-pga-record-formats)

ใบอนุญาตจะออกให้แก่คนที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯเท่านั้น: เฉพาะตัวแทนที่มีที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯเท่านั้นที่มีสิทธิที่จะได้รับ

International Fisheries Trade Permit (IFTP) บุคคลอื่นๆที่ไม่ใช่ผู้อยู่อาศัยในสหรัฐฯอาจจะขอรับใบอนุญาตผ่านทางตัวแทนที่มีที่อยู่ในสหรัฐฯ

ตัวอย่าง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่างๆจากกฎระเบียบเดิม:

1. การนำเข้าที่จำเป็นต้องมี Fisheries Certificate of Origin และ International Fisheries Trade Permit
(IFTP) ได้แก่ สินค้าปลาทูน่า ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า และผลิตภัณฑ์ปลาอื่นๆตามที่ระบุ (ดูรายชื่อสินค้า และแบบฟอร์มในเอกสารแนบ) สินค้าเหล่านี้ที่ส่งเข้าสหรัฐฯจะต้อง

1.1 มีเอกสารประกอบคือ

  • สำเนา (ด้วยการสแกน) Fisheries Certificate of Origin (FCO) ที่สมบูรณ์และถูกต้อง (ศึกษาข้อมูลที่ www.nmfs.noaa.gov/pr/dolphinsafe/noaa370.htm)
  • NOAA Form 370 พร้อมใบประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง (2016.91a)

1.2 ข้อมูลที่กำหนดว่าต้องมีจะต้องถูกยื่นให้กับ CBP ผ่านทางระบบอิเลคโทรนิกส์

1.3 Importer of record ที่ถูกระบุในเอกสารนำเข้า จะต้องมีใบอนุญาต International Fisheries Trade Permit

2. โปรแกรมการติดตามและการรับรอง:

2.1 การติดตามการนำเข้า: สินค้าปลาทูน่าทั้งหมด ยกเว้นปลาทูน่าสด ที่นำเข้าสหรัฐฯต้องมีเอกสารต่างตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ข้างต้น แนบมาด้วย เพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามปลาทูน่า importer of record จะต้องยื่นสำเนา FCO และประกาศนียบัตรและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องให้แก่ CBP

2.2 การยื่นบันทึก: ก่อนการนำเข้าหรือในเวลาการนำเข้าปลาทูน่าหรือสินค้าปลาทูน่า ผู้นำเข้าจะต้องยื่นเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ FCO ประกาศนียบัตรและเอกสารอื่นๆที่กฎหมายบังคับ

3. ข้อห้ามโดยทั่วๆไป:

3.1 การจัดส่งสินค้า การขนส่ง การเสนอขาย การขาย การซื้อ การนำเข้า การส่งออก หรือ การมีไว้ในความครอบครอง การควบคุม หรือการเป็นเจ้าของ ปลานำเข้าใดๆ ปลาส่งออกใดๆ หรือ การส่งออกใดๆ ห้ามกระทำในลักษณะที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

3.2 การนำเข้า การส่งออก การส่งออกไปอีกครั้ง ปลาใดๆที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบและภายใต้ตอนนี้ของกฎหมายโดยไม่มีใบอนุญาต International Fisheries Trade Permit หรือเอกสารการจัดส่งสินค้าที่กำหนด ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

4. ใบอนุญาตการค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ (International fisheries trade permit): ผู้นำเข้าที่นำเข้าสหรัฐฯ เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริโภค ปลาหรือผลิตภัณฑ์ปลาที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎระเบียบที่เป็นการจับจากมหาสมุทร หรือ ผู้ส่งออกที่ต้องการส่งออก หรือ ส่งออกต่อ สินค้าดังกล่าว จะต้องมีใบอนุญาต International Fisheries Trade Permit (IFTP)

คลิ๊กที่นี่เพื่อเข้าอ่านเอกสารแนบ รายชื่อสินค้าที่ต้องมี Fisheries Certification of Origin และ International Fisheries Trade Permit ในการนำเข้าสหรัฐฯ )

อ่านรายงานฉบับเต็มที่นี่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าภายในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

Share This Post!

741 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top