คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครึ่งหลังปี 2559 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)
คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครึ่งหลังปี 2559 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)
สถานการณ์ปัจจุบัน
1. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2559 เริ่มต้นได้ดีกว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ
- ซึ่งสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 (-2.1%) และ 2558 (0.6%)
2. มีรายงานว่า จีดีพีของไตรมาส 2 จะขยายตัวเป็นเท่าตัวของไตรมาสแรก ด้วยปัจจัยอีกหลายประการ
เช่น การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานที่ลดลง (ปัจจุบันร้อยละ 4.7) การลงทุนของภาคเอกชนที่
เพิ่มขึ้น ผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัว และ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น คาดว่า จีดีพีจะขยายตัวประมาณร้อยละ
2.0-2.4 ในไตรมาสที่สอง
3. การขยายตัวดังกล่าว จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไปยัง
ไตรมาสที่ 3 และ 4 หรือในช่วงครึ่งหลังของปี
ปัจจัยเสี่ยงของการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครึ่งหลังปี 2559
1. ปัญหาแรงผลักดันของอุปสงค์ในประเทศอยู่ในระดับต่่า: แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะดีกว่าประเทศ
อื่นๆ ในโลก แต่ความต้องการบริโภคอยู่ในระดับต่่า ท่าให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราต่่ามาก
ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นกุญแจส่าคัญของจีดีพี (70%) ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลง เหตุผล
ประการหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อการลดการใช้จ่ายในขณะที่ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น คือ ผู้บริโภคมีหนี้สินสูงและน่ารายได้
ส่วนหนึ่งไปไปช่าระหนี้สิน
2. ความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว:
- ธนาคารโลกได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกในปี 2559 จากเดิมที่คาดการณ์
ไว้ในเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงเหลือร้อยละ 2.4 สืบเนื่องจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะ
ส่งผลต่อความต้องการสินค้าสหรัฐฯ ความต้องการบริโภคลดลง - ไอเอ็มเอฟได้ลดคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ลงเป็นร้อยละ 2.2 จากที่ได้
คาดการณ์ไว้ร้อยละ 2.4 เมื่อตอนต้นปี ด้วยเหตุผลด้านอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจโลกอยู่ในระดับต่่า และ การ
ชะลอตัวด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค - Brexit มีผลกระทบต่อด้านการชะลอลงทุนของภาคเอกชนจากอังกฤษมายังสหรัฐฯ เพราะอังกฤษ
เป็นผู้ลงทุน (FDI) อันดับหนึ่งของสหรัฐฯ และผลกระทบต่อความผันผวนและความไม่แน่นอนของตลาดการเงินใน
สหรัฐฯ
3. ตัวเลขออัตราว่างงานที่ลดลงหรือการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นเพียงภาพลวงตา เพราะว่าผลตอบ แทนการ
ท่างานหรือค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่่ากว่ามาตรฐานการครองชีพ ในเรื่องนี้หน่วยงาน IMFได้เตือนสหรัฐฯ ว่า
อัตราความยากจนในปัจจุบันของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และมีความเหลื่อมล้่าในอัตราสูงในประเทศ ซึ่งจะเป็นสาเหตุถ่วง
ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ปัจจุบัน คนอเมริกันจ่านวน 4..7 ล้าน คน หรือหนึ่งในเจ็ดคน มีความเป็นอยู่แบบ
พอมีพอกินหรือขัดสน ซึ่งสหรัฐฯ จะต้องเพิ่มค่าจ้างขั้นต่่าให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบัน มีการรณรงค์ค่าจ้างขั้นต่่าเพิ่มจาก
7.5 เหรียญฯ/ชั่วโมง เป็น 15 เหรียญฯ/ชั่วโมง
4. การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ในการประชุมในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ และคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม (0.25%-0.50%) ในครึ่งหลังของปี หรือไปจนถึงสิ้นปี 2559
5. ค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่ามาโดยตลอด ส่งผลทางลบต่อการลดลงของการส่งออกสินค้าสหรัฐฯ ประกอบกับ ผลกระทบจาก Brexit ซึ่งจะท่าให้เศรษฐกิจอังกฤษชะลอตัว ความต้องการสินค้าลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปอังกฤษลดลง เนื่องจากสินค้าสหรัฐฯ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ปัจจุบัน การส่งออกสินค้าตลาดส่าคัญ 4 อันดับแรก คือ คานาดา เม็กซิโก จีน และ ญี่ปุ่น ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมดของสหรัฐฯ หดตัวไปร้อยละ 7 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวการผลิตสินค้าในประเทศ และ เกิดการปลดพนักงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ
7. ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของประเทศ ไม่สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนสหรัฐฯ เช่น การ
ชะลอการพิจารณาผ่าน TPP และนโยบายของผู้แทนพรรคริพับริกันชิงต่าแหน่งประธานาธิบดีเป็นผลให้บริษัทฯ
จะชะลอการลงทุนขยายกิจการออกไปจนกว่า การเลือกตั้งทั่วไปผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้น การลงทุนของภาคเอกชน
จะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อการเพิ่มจีดีพี
ปัจจัยสนันสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครึ่งหลังปี 2559
1. ผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ซึ่งจะท่าให้มีอ่านาจการซื้อเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มร้อยละ 0.5 ใน
เดือนพฤษภาคม และ คาดว่า ผู้บริโภคจะใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เพราะเป็นช่วงฤดูร้อน ต่อเนื่องไป
จนถึงช่วง Holiday Seasons ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้บริโภคจะใช้จ่ายมาก หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของการใช้จ่ายทั้งปี
2. ราคาน้่ามันในระดับต่่าช่วยรักษาระดับราคาสินค้าไม่เพิ่มสูง อัตราเงินเฟ้อจึงอยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2 ซึ่งจะเป็นปัจจัยชักจูงเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภค
3. ปัจจุบัน ธุรกิจการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขยายตัว และ ดัชนีการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเริ่มขยายตัวซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
4. แม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีความมั่นใจในเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ตามเป้า และยังไม่มีการปรับอัตราขยายตัวจีดีพีในปี 2559 หรือคงไว้ที่ร้อยละ 2.2 โดยอ้างว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังขยายตัวแม้ว่าจะอยู่ในอัตราต่่า ประกอบกับเงินเฟ้ออยู่ในระดับควบคุม และ อัตราการว่างงานลดลง
5. กลุ่มผู้บริหารระสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ยังมีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว โดย
คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 ต่่ากว่าอัตราของธนาคารกลางสหรัฐฯ
สรุปแม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวโดยต่อเนื่อง แต่ปัจจุบัน มีปัจจัยเสี่ยงส่าคัญหลายประการ ที่จะฉุดการ
ขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายส่านัก รวมทั้งกลุ่มผู้บริหารระสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ มี
ความเห็นว่า จีดีพีน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.1 ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะเหมาะสมของในช่วงครึ่งหลังของปี 2559
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก
1 กรกฎาคม 2559