5 อันดับมลรัฐที่ดีที่สุดสำหรับภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ปี 2560

5 อันดับมลรัฐที่ดีที่สุดสำหรับภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ปี 2560

ตลอดเวลากว่า 7 ปีที่ผ่านมา บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ จ้างงานขึ้นมาก ทำให้การว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะลงลดอีก นักลงทุนต่างพากันให้ความมั่นใจในเศรษฐกิจส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ พุ่งขึ้นไปที่ 20,000 จุด ในช่วงต้นปีนี้ อีกทั้งมาตรการสำคัญทางธุรกิจกำลังจะทำให้ธุรกิจในสหรัฐฯเติบโตมากขึ้น

จากการสำรวจและวิเคราะห์เพื่อหารัฐที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจโดยบริษัทจัดทำผลสำรวจ 24/7 Wall St. ซึ่งวิเคราะห์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะทางเศรษฐกิจ ต้นทุนทางธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ความพร้อมและระดับทักษะแรงงาน คุณภาพชีวิต กฎระเบียบ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม และค่าครองชีพ พบว่า มลรัฐที่ดีที่สุดสำหรับภาคธุรกิจ 5 อันดับแรกของปี 2560 ได้แก่

1.ยูทาห์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงในประเทศ (real GDP) เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 3.4 (อันดับที่ 6)

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 45,204 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 32)

อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 31 (อันดับที่ 16)

การจดทะเบียนสิทธิบัตร 1,404 รายการต่อปี (อันดับที่ 23)

สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ปี 2553-2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 (อันดับที่ 2)

มลรัฐยูทาห์เป็นมลรัฐที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจในปีนี้ เพราะตลาดแรงงานและกฎระเบียบที่เกื้อหนุนกับการทำธุรกิจมากกว่ามลรัฐอื่น ๆ โดยรัฐได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมลรัฐที่มีนโยบายการจัดเก็บภาษีที่ดีที่สุด นอกจากนี้ มีผู้ใช้แรงงานป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเพียงร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคธุรกิจ

2. แมสซาชูเซตส์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงในประเทศ  เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 3.8 (อันดับที่ 4)

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 65,196 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 2)

อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 41.5 (อันดับที่ 1)

การจดทะเบียนสิทธิบัตร 6,777 รายการต่อปี (อันดับที่ 4)

สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ปี 2553-2563 ลดลงร้อยละ 0.6 (อันดับที่ 38)

มลรัฐแมสซาชูเซตส์มีข้อได้เปรียบด้านแรงงานที่มีคุณภาพสูง แรงงานที่อยู่ในวัยทำงานจบปริญญาตรีร้อยละ 41 และปริญญาโทหรือปริญญาเอกร้อยละ 18.4 จึงเป็นมลรัฐที่จะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ในปี 2557 มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรมากเป็นอันดับสองรองจากแคลิฟอร์เนีย ธุรกิจในมลรัฐต่างได้รับผลประโยชน์จากความมั่งคั่งของประชากร ที่สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ดี โดยรายได้ต่อครัวเรือนของรัฐอยู่ที่ 70,628 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อครัวเรือนของทั้งประเทศ 55,775 ดอลลาร์สหรัฐ)

3.ไอดาโฮ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงในประเทศ เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 2.7 (อันดับที่ 10)

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 39,633 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 48)

อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26 (อันดับที่ 39)

การจดทะเบียนสิทธิบัตร 865 รายการต่อปี (อันดับที่ 28)

สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ปี 2553-2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 (อันดับที่ 5)

จากรายงานของ the Census’ Annual Survey of Entrepreneurs ร้อยละ 31 ของธุรกิจในรัฐนี้มีการแข่งขันกันด้านตลาดแรงงานที่มีความสามารถ แต่สัดส่วนประชากรวัยทำงานที่เพิ่มขึ้น กฎระเบียบที่เอื้อต่อธุรกิจ รายได้เฉลี่ยต่อปีที่ต่ำ ส่งผลดีต่อธุรกิจ จึงทำให้รัฐไอดาโฮถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 3

 4.โคโลราโด

ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงในประเทศ เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 3.2 (อันดับที่ 7)

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 54,900 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 11)

อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 39.2 (อันดับที่ 2)

การจดทะเบียนสิทธิบัตร 3,045 รายการต่อปี (อันดับที่ 14)

สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ปี 2553-2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 (อันดับที่ 11)

มลรัฐนี้มีความโดดเด่นในด้านแรงงานคุณภาพและการศึกษาโดยมีอัตราการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่าอยู่ที่ร้อยละ 14.5 ทำให้นักธุรกิจนักลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นสูงและบริษัทที่จ่ายเงินเดือนสูงเข้ามาเปิดบริษัท อาชีพที่มีการจ่ายเงินมากที่สุดคืออาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่ครอบคลุมแรงงานในมลรัฐร้อยละ 7.4 ของตำแหน่งงานทั้งหมดของรัฐ อีกทั้งการรับรองให้กัญชาเป็นสิ่งถูกฎหมายในปี 2555 สร้างธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากและในปี 2559 กัญชาสร้างรายได้ให้รัฐได้ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปี  และรัฐนี้ยังเป็นรัฐอันดับที่ 5 ที่มีการเติบโตของธุรกิจภาคเอกชนเร็วที่สุดในปี 2558 อีกด้วย

5.นอร์ทดาโคตา

ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงในประเทศ ลดจากปีก่อนร้อยละ -2.6 (อันดับต่ำสุด)

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 49,795 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 19)

อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 29.1 (อันดับที่ 24 จากลำดับสุดท้าย)

การจดทะเบียนสิทธิบัตร 118 สิทธิบัตร (อันดับที่ 4 จากลำดับสุดท้าย)

สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ปี 2553-2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (อันดับที่ 15)

ในช่วงปี 2549 – 2556 มลรัฐได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากการขุดค้นพบแหล่งน้ำมันที่ทำรายได้ให้รัฐ โดย GDP ที่เพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 7.7 จากปี 2553 ถึง 2558 รวมกับค่าครองชีพที่ต่ำทำให้เป็นอีกหนึ่งมลรัฐที่น่าสนใจและขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 5

หวังว่าการจัดอันดับ 5 รัฐที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยที่มองหามลรัฐเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในสหรัฐฯ ได้อีกทาง ผู้ที่สนใจอ่านการจัดอันดับมลรัฐที่ดีที่สุดสำหรับภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ประจำปี 2560 ฉบับเต็ม สามารถไปดูได้ที่ http://247wallst.com/special-report/2017/02/14/the-best-and-worst-states-for-business-3/

พรธิดา ญาณสมบูรณ์

17 มีนาคม 2560

แหล่งข้อมูล

  • สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส
  • หนังสือพิมพ์ USA TODAY

ขอบคุณภาพจาก กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

ทูตพิศาลฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยในสหรัฐฯ เข้าร่วมงาน America’s Small Business Summit 2017 ว่าเป็นกิจกรรมที่เชื่อมนักธุรกิจที่ทำธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ เข้าไว้ด้วยกัน นักธุรกิจสามารถนำข้อมูลและเครือข่ายที่ได้รับในงานไปต่อยอดให้กับธุรกิจของตนเองได้ และได้ฝากนักธุรกิจไทยในสหรัฐฯ ทุกท่านให้เข้าให้ถึงหน่วยงานและองค์กรท้องถิ่นของสหรัฐฯ ซึ่งจะเอื้อให้กับธุรกิจเติบโต ตัวอย่างเช่นการเข้าเป็นคณะกรรมการด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ของตน อาทิ สภาธุรกิจเอเชียอเมริกัน สำหรับธุรกิจร้านอาหารไทย ทูตพิศาลฯ อยากเห็นร้านอาหารไทยยกระดับขึ้นสู่อาหารในระดับสากลแบบ “มิชลิน สตาร์” มากขึ้น

กงสุลใหญ่นิพนธ์ฯ เสริมว่า ขณะเดียวกัน นครนิวยอร์กมีหน่วยงานฝ่ายไทยที่พร้อมสนับสนุนธุรกิจไทยอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงธนาคารกรุงเทพ

อัครราชทูตภัทราวรรณฯ แนะนำให้นักธุรกิจใช้โอกาสนี้รวบรวมปัญหาที่ธุรกิจขนาดเล็กกำลังเผชิญอยู่ สถานทูตยินดีนำไปประมวลเพื่อเป็นตัวแทนไปพูดคุยและหารือเพื่อหาทางออกกับฝ่ายสหรัฐฯ อาทิ ด้านกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ

อัครราชทูตฝ่ายพาณิชย์ นายประโยชน์ เพ็ญสุต แจ้งว่า สำนักงานพาณิชย์ที่กรุงวอชิงตันและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (Thai Trade) ที่กระจายอยู่ใน 4 มลรัฐ ได้แก่ อิลลินอยส์ ลอสแอนเจลิส ฟลอริดา นิวยอร์ก ยินดีร่วมมือและให้ความช่วยเหลือนักธุรกิจอย่างเต็มที่ โดยฝากให้นักธุรกิจให้ความสำคัญกับคุณภาพและขั้นตอนการผลิตสินค้า หากไม่ทำให้ถูกตั้งแต่ต้น จะเป็นปัญหาได้ในระยะยาว

สถานทูต ณ กรุงวอชิงตัน สนับสนุนนักธุรกิจ SME ไทยในสหรัฐฯ มารวมตัวกันร่วมงาน America’s Small Business Summit ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 นักธุรกิจ SME ที่มาร่วมงานครั้งนี้มาจากหลากหลายสาขาทั้งร้านอาหาร สถาปนิก บริษัทจัดงานอีเวนต์ ธุรกิจสปาและสุขภาพ โดยมาจากมลรัฐใกล้เคียงกรุงวอชิงตันเช่นแมริแลนด์ เวอร์จิเนีย เพนซิลเวเนีย และนิวยอร์ก ตลอดจนจากมลรัฐที่ไกลออกไปเช่นคอนเนตทิคัต แมสซาชูเซตส์ นอร์ทแคโรไลนา นิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ ไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย

พรธิดา ญาณสมบูรณ์

เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐฯ

962 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top