ความตกลงการค้าเสรี2021-07-23T11:01:58-04:00

ความตกลงการค้าเสรี

ความตกลงทางการค้าเสรี คือ ข้อตกลงทางการค้าที่กลุ่มประเทศสมาชิกร่วมมือตกลงกันในการให้ประโยชน์หรือให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัน
โดยสิทธิพิเศษที่ว่านี้รวมถึงการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้า-ส่งออกในการค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก โดยสหรัฐฯ ได้ทำความตกลงทางการค้าเสรี
กับ 20 ประเทศเหล่านี้ คือ

ออสเตรเลีย

คอสตาริกา

อิสราเอล

โมรอคโค

บาห์เรน

สาธารณรัฐโดมินิกัน

จอร์แดน

นิการากัว

แคนาดา

เอล ซัลวาดอร์

เกาหลีใต้

โอมาน

ชิลี

กัวเตมาลา

เม็กซิโก

ปานามา

โคลัมเบีย

ฮอนดูรัส

เปรู

สิงคโปร์

อ้างอิงข้อมูลจาก: https://ustr.gov/trade-agreements/free-trade-agreements

รายละเอียดของกฎระเบียบ ข้อตกลง รวมถึงรายชื่อสินค้าที่เข้าและไม่เข้าข่ายสินค้าตาม GSP สามารถตรวจสอบได้ที่ http://www.ustr.gov/

ระบบ GSP ของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาได้มีโครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preference หรือ GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ด้วย จุดมุ่งหมายของ GSP ก็เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ได้รับสิทธิอีกทั้งยังสนับสนุนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เอง ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP นี้ สหรัฐฯ จะยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเป็นจำนวนไม่เกิน 5,000 รายการ เพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ตามข้อตกลง GSP จะเป็นสินค้าอุตสาหกรรมรวมไปถึงสินค้าอื่นๆ เช่น สินค้าทางเคมีต่างๆ แร่ธาตุและหินก่อสร้าง เครื่องประดับ พรม สินค้าทางการเกษตร และการประมงบางประเภท ส่วนสินค้าตัวอย่างที่ไม่อยู่ในระบบสิทธิพิเศษนี้ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม นาฬิกา รองเท้า กระเป๋าถือ และกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น

สหรัฐฯ เริ่มต้นโครงการสิทธิพิเศษทางศุลกากรนี้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2519 โดยล่าสุด สหรัฐฯ อยู่ระหว่างดำเนินขั้นตอนเพื่อต่ออายุโครงการฯ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะต้องชำระภาษีในอัตรา MFN ปกติ อย่างไรก็ตาม ในการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ ผู้นำเข้าจะต้องกรอก Special program indicator (SPI) for GSP (A) เมื่อนำเข้าสินค้าเข้าสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถรับคืนภาษี หากสหรัฐฯ ประกาศต่ออายุโครงการฯ และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โครงการสิ้นสุดอายุ

ข้อมูล ณ เดือน กรกฎาคม 2564

(1) ระดับการพัฒนาประเทศ –  โดยพิจารณาจากปัจจัยด้าน GNI per capita ของ World Bank โดย ปี 2562 กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 12,535 เหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูลล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2563) ระดับคุณภาพชีวิตของประชากร รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น

(2) การเปิดตลาดสินค้าและบริการ – ต้องมีการเปิดตลาดสินค้าและบริการอย่างสมเหตุผล

(3) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา – ต้องมีระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

(4) การคุ้มครองสิทธิแรงงาน: ต้องมีการคุ้มครองสิทธิแรงงานในระดับที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  

(5) การกำหนดนโยบายลงทุนที่ชัดเจน และลดข้อจำกัดทางการค้า

(6) ให้การสนับสนุนสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย

(1) ต้องเป็นสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯ

(2) ต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯ

(3) ต้องเป็นสินค้าที่นำเข้าโดยตรงจากประเทศประเทศผู้รับสิทธิ

(4) สินค้าดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ที่สหรัฐฯ กำหนด

(5) ผู้นำเข้าต้องแสดงความจำนงในการนำเข้าภายใต้โครงการ GSP ต่อศุลกากรสหรัฐฯ เพื่อขอรับการยกเว้นภาษีนำเข้า

(1) สินค้านั้นจะต้องผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศผู้รับสิทธิทั้งหมด (Wholly product) หรือกรณีที่มีวัตถุดิบหรือส่วนประกอบนำเข้าจากต่างประเทศ (Non-wholly product) สินค้านั้นจะต้องได้รับการแปรสภาพในประเทศกำลังพัฒนานั้นอย่างเพียงพอจนกลายเป็นสินค้าที่แตกต่างจากสภาพเดิม โดยนำวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศรวมกับต้นทุนการผลิตทางตรงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 35 ของราคาสินค้าหน้าโรงงาน (Ex-factory price) หรือราคาประเมิน (Appraised value) ของสินค้านั้นในสหรัฐฯ
สูตรคำนวณ มูลค่าวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ + ต้นทุนการผลิตทางตรง ≥ ร้อยละ 35
ราคาสินค้าหน้าโรงงาน หรือราคาประเมิน

(2) สินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สามารถผลิตโดยใช้กฎถิ่นกำเนิดแบบสะสม (Cumulative rules of origin) โดยสามารถนำวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดจากอีกประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP มาสะสม โดยให้ถือเสมือนว่าเป็นสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเดียวกัน ทั้งนี้ ประเทศผู้ผลิตและประเทศเจ้าของวัตถุดิบจะต้องเป็นภาคีสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือเดียวกันและเป็นประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯ  ซึ่งในกรณีของไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน จึงสามารถใช้วัตถุดิบร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับสิทธิ GSP ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเมียนมา โดยวัตถุดิบที่นำเข้าภายใต้กฎถิ่นกำเนิดแบบสะสมจะต้องมีอัตราส่วนต้นทุนในประเทศภาคีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของราคาสินค้าหน้าโรงงานหรือราคาประเมินของสินค้านั้น

ระบบ GSP สหรัฐฯ แบ่งการระงับสิทธิ GSP เป็น 2 ประเภท คือ

(1) การระงับสิทธิ GSP รายสินค้า (Product review) – ใช้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitive Need Limit: CNLs) เป็นเกณฑ์

(2) การระงับสิทธิ GSP รายประเทศ (Country practice review) – พิจารณาจากเงื่อนไขคุณสมบัติการได้รับสิทธิ

สินค้าจากประเทศผู้รับสิทธิฯ GSP จะถูกระงับสิทธิฯ เป็นการชั่วคราวเมื่อการนำเข้าสหรัฐฯ สูงเกินเพดานที่กำหนดภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (CNLs) กล่าวคือ สินค้าของประเทศใดจะถูกระงับสิทธิฯ GSP หากปรากฏว่ามูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ ในปีปฏิทินที่ผ่านมาสูงเกินเพดานที่กำหนดไว้ คือ

-มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป หรือ
-มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ เกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ในแต่ละปี (ในปี 2563 = 195 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยให้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ ละ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทั้งนี้  หากมีการนำเข้าสินค้าเกินเกณฑ์ดังกล่าวถือว่าสินค้านั้นมีความสามารถในการแข่งขันสูง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับสิทธิฯ GSP ต่อไป และจะถูกตัดสิทธิฯ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีถัดไป

สินค้าที่ถูกระงับสิทธิฯ GSP สามารถที่จะขอคืนสิทธิหรือผ่อนผันไม่ระงับสิทธิฯ ได้ 2 วิธี คือ

(1) ขอคืนสิทธิกรณี Redesignation สำหรับสินค้าที่ถูกระงับสิทธิ หากปีต่อมา มูลค่าการส่งออกต่ำกว่าระดับ CNLs ที่กำหนด (ซึ่งปี 2563 สหรัฐฯ กำหนดที่ 195 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และส่วนแบ่งนำเข้าต่ำกว่าร้อยละ 50

(2) ขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิกรณี De Minimis Waiver สำหรับสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป และมูลค่าการนำเข้าสหรัฐฯ ของสินค้าต้องต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่สหรัฐฯกำหนด (De Minimis level) โดยในปี 2563 มีมูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (โดยให้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ ละ 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ)

สินค้าใดที่เคยได้รับยกเว้นเพดานการส่งออก (CNL Waiver) มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี หรือนานกว่านี้ สินค้านั้นอาจถูกตัดสิทธิ GSP หากการส่งออกสินค้านั้นเข้าสหรัฐฯ เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

(1) มีมูลค่านำเข้าเกินร้อยละ 150 (1.5 เท่า) ของระดับเพดาน CNL ที่สหรัฐฯ กำหนดในปีนั้น (ปี 2563 = (195 x 1.5) = 292.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) หรือ

(2) มีส่วนแบ่งการนำเข้าเกินร้อยละ 75 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้ารายการนั้นของสหรัฐฯ ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะผ่อนผันให้ได้รับสิทธิต่อไปอีกก็ได้

ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ศุลกากรสหรัฐฯ ได้ยกเลิกการใช้หนังสือรับรอง Form A เป็นหลักฐานเพื่อขอใช้สิทธิ GSP โดยผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ดำเนินการยื่นขอใช้สิทธิ GSP และรับรองสินค้าด้วยตนเอง (self-certify)  โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

• ผู้ส่งออก  จะต้องเก็บรักษาเอกสาร/ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี  โดยสามารถชี้แจงข้อเท็จจริงได้ในกรณีที่ศุลกากรสหรัฐฯ ร้องขอตรวจสอบผ่านผู้นำเข้าสหรัฐฯ ชี้แจงในแบบฟอร์ม GSP Declaration

• ผู้นำเข้า  เป็นผู้แสดงความจำนงนำเข้าสินค้าโดยขอใช้สิทธิ GSP และยืนยันข้อเท็จจริงทั้งหมดต่อศุลกากรสหรัฐฯ

Go to Top